กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง

โดยที่กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจ
แก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๗ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง
ที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและกำหนดนิยาม “งานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง” หมายความว่า งานที่ลูกจ้างทำ
เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๑๐๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑ ประกอบกับข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของ
ลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๗ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติ
บางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๒
มาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้
โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้
นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๒”
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้กำหนดสารเคมีอันตรายที่นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงาน
ในงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง ดังต่อไปนี้
(๑) สารเคมีอันตรายในกลุ่มสารทำละลายอินทรีย์ ได้แก่
(ก) กลัยคอล (glycol)
(ข) กลูตารัลดีไฮด์ (glutaraldehyde)
(ค) คลอโรฟอร์ม (chloroform)
(ง) คีโตน และ เมทิล เอททิล คีโตน (ketone and methyl ethyl ketone)
(จ) แนพธา (naphthas)
(ฉ) เบนซิดีน และเกลือของสารเบนซิดีน (benzidine and benzidine salts)
หน้า ๓๘
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๕๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๗ เมษายน ๒๕๕๒
(ช) เบนซีน และสารอนุพันธ์ของเบนซีน (benzene and benzene derivatives) เช่น
ไซลีน (xylene) โทลูอีน (toluene) สไตรีน (styrene)
(ซ) เบนโซควินโนน (benzoquinone)
(ฌ) บีส (คลอโรเมทิล) อีเทอร์ (bis (chloromethyl) ether)
(ญ) บีต้า - เนพทิลามีน (beta - naphthylamine)
(ฎ) โพรเพน (propane)
(ฏ) ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde)
(ฐ) ฟีนอล (phenol)
(ฑ) เมทานอล (methanol)
(ฒ) เมทิลีน คลอไรด์ (methylene chloride)
(ณ) เมทิล ไอโซไซยาเนท (methly isocyanate)
(ด) ไตรคลอโร เอทิลีน (trichloro ethylene)
(ต) อะครัยโลไนไตรล์ (acrylonitrile)
(ถ) อะซีโตน (acetone)
(ท) อะซีโตไนไตรล์ (acetonitrile)
(ธ) อีเทอร์ (ether)
(น) เอทิล อะซิเตท (ethyl acetate)
(บ) เอทิลีน ไดคลอไรด์ (ethylene dichloride)
(ป) ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์ (isopropyl alcohol)
(ผ) เฮกเซน และสารอนุพันธ์ของเฮกเซน (hexane and hexane derivatives) เช่น
ไซโคลเฮกซาโนน (cyclohexanone)
(ฝ) ไฮโดรควินโนน (hydroquinone)
(๒) สารเคมีอันตรายในกลุ่มก๊าซ ได้แก่
(ก) คลอรีน หรือสารประกอบของคลอรีน (chlorine or chlorine compounds)
(ข) คาร์บอนมอนอกไซด์ (carbon monoxide)
(ค) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide)
(ง) ฟอสยีน (phosgene)
หน้า ๓๙
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๕๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๗ เมษายน ๒๕๕๒
(จ) ฟลูออรีน หรือสารประกอบของฟลูออรีน (fluorine or fluorine compounds)
(ฉ) ไวนิลคอลไรด์ (vinyl chloride)
(ช) ออกไซด์ของไนโตรเจน (oxides of nitrogen)
(ซ) เอทิลีน ออกไซด์ (ethylene oxide)
(ฌ) แอมโมเนีย (ammonia)
(ญ) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (hydrogen sulfide)
(ฎ) ไฮโดรเจนไซยาไนด์ หรือสารประกอบของไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen cyanide or
hydrogen cyanide compounds)
(๓) สารเคมีอันตรายในกลุ่มฝุ่นหรือฟูมหรือผงโลหะ ได้แก่
(ก) แคดเมียม หรือสารประกอบของแคดเมียม (cadmium or cadmium compounds)
(ข) โคบอลต์ หรือสารประกอบของโคบอลต์ (cobalt or cobalt compounds)
(ค) โครเมียม หรือสารประกอบของโครเมียม (chromium or chromium compounds)
(ง) เงิน (silver)
(จ) ซีลีเนียม หรือสารประกอบของซีลีเนียม (selenium or selenium compounds)
(ฉ) ดีบุก หรือสารประกอบของดีบุก (tin or tin compounds)
(ช) ตะกั่ว หรือสารประกอบของตะกั่ว (lead or lead compounds)
(ซ) ทองแดง หรือสารประกอบของทองแดง (copper or copper compounds)
(ฌ) ทัลเลียม หรือสารประกอบของทัลเลียม (thallium or thallium compounds)
(ญ) นิกเกิล หรือสารประกอบของนิกเกิล (nickel or nickel compounds)
(ฎ) เบริลเลียม หรือสารประกอบของเบริลเลียม (beryllium or beryllium compounds)
(ฏ) ปรอท หรือสารประกอบของปรอท (mercury or mercury compounds)
(ฐ) พลวง หรือสารประกอบของพลวง (antimony or antimony compounds)
(ฑ) แมงกานีส หรือสารประกอบของแมงกานีส (manganese or manganese compounds)
(ฒ) วาเนเดียม หรือสารประกอบของวาเนเดียม (vanadium or vanadium compounds)
(ณ) สังกะสี หรือสารประกอบของสังกะสี (zinc or zinc compounds)
(ด) สารหนู หรือสารประกอบของสารหนู (arsenic or arsenic compounds)
(ต) เหล็ก (iron)
หน้า ๔๐
เล่ม ๑๒๖ ตอนพิเศษ ๕๐ ง ราชกิจจานุเบกษา ๗ เมษายน ๒๕๕๒
(ถ) อะลูมิเนียม หรือสารประกอบของอะลูมิเนียม (aluminium or aluminium compounds)
(ท) ออสเมียม หรือสารประกอบของออสเมียม (osmium or osmium compounds)
(๔) สารเคมีอันตรายในกลุ่มกรด ได้แก่
(ก) กรดซัลฟูริค (sulphuric acids)
(ข) กรดแร่ (mineral acids)
(ค) กรดไนตริค (nitric acids)
(๕) สารเคมีอันตรายในกลุ่มสารกำจัดศัตรูพืช (pesticides) ได้แก่
(ก) สารกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphates)
(ข) สารกำจัดแมลงกลุ่มคาร์บาเมท (carbamate)
(๖) สารเคมีอันตรายในกลุ่มอื่น ๆ ได้แก่
(ก) คาร์บอนไดซัลไฟด์ (carbon disulfide)
(ข) ซิลิก้า (silica)
(ค) ถ่านหิน และไอควันถ่านหิน (coal)
(ง) น้ำมันแร่ (mineral oils)
(จ) น้ำมันดิน (coal-tar pitches)
(ฉ) น้ำมันถ่านหิน (shale oils)
(ช) ฝุ่นฝ้าย ป่าน และปอ (cotton flax and hemp dust)
(ซ) ฝุ่นไม้ และไอควันจากเผาไม้ (wood dust)
(ฌ) ฟอสฟอรัส หรือสารประกอบของฟอสฟอรัส (phosphorus or phosphorus compounds)
(ญ) ใยแก้ว (glass fiber)
(ฎ) สารกลุ่มไดอ๊อกซิน (dioxin)
(ฏ) แอสเบสตอส (ใยหิน) (asbestos)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๒
ไพฑูรย์ แก้วทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ข้อมูลจาก สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า