กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับหม้อน้ำ

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2(7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103
ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดสวัสดิการเกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทํางานสําหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า“ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับหม้อนํ้า”

ข้อ 2ให้ยกเลิกหมวด 2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อไอนํ้าแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ลงวันที่ 23 กรกฎาคมพ.ศ.2519

ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ 4 ในประกาศนี้

“นายจ้าง”หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนนายจ้างในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลหมายความว่าผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลนั้นและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล

“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นผู้รับค่าจ้างด้วยตนเองหรือไม่ก็ตาม

หม้อนํ้า”หมายความว่าภาชนะปิดที่ใช้ผลิตนํ้าร้อนหรือไอนํ้าที่มีความดันสูงกว่าบรรยากาศโดยใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงหรือจากไฟฟ้าหรือจากพลังงานนิวเคลียร์

“หม้อนํ้าทําความร้อน” หมายความว่าหม้อนํ้าที่ใช้ผลิตไอนํ้าความดันไม่เกิน 1 บาร์ หรือไอนํ้าอุณหภูมิไม่เกิน 120 องศาเซลเซียส หรือนํ้าร้อนความดันไม่เกิน 10 บาร์

หม้อนํ้ามือสอง” หมายความว่า หม้อนํ้าที่เปลี่ยนทั้งเจ้าของและที่ติดตั้งหลังจากใช้ครั้งแรก

“หม้อนํ้าที่ย้ายที่ติดตั้ง” หมายความว่า หม้อนํ้าที่ถอดออกจากที่ตั้งเดิมและติดตั้งอีกครั้ง ณ ที่เดิมหรือติดตั้ง ณ ที่ติดตั้งใหม่โดยไม่เปลี่ยนเจ้าของ

“ผู้ควบคุม” หมายความว่า ผู้ที่นายจ้างจัดให้มีหน้าที่ควบคุมการทํางานและการใช้หม้อนํ้า

“การดัดแปลง”หมายความว่าการเปลี่ยนแปลงหม้อนํ้าที่เป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่สําคัญไปจากการออกแบบเดิม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้หม้อนํ้า

“การตรวจทดสอบ”หมายความว่า การตรวจอย่างละเอียดด้วยสายตาและเครื่องมือทั้งภายในและภายนอกหม้อนํ้าโดยเปิดฝาต่างๆในขณะหยุดใช้งานหม้อนํ้า รวมถึงการตรวจการทํางานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆตลอดจนการทดสอบเกี่ยวกับความแข็งแรงของหม้อนํ้า


หมวด 2
การติดตั้งหม้อนํ้าและอุปกรณ์


ข้อ 13 การดําเนินการติดตั้งหม้อนํ้าและอุปกรณ์ ให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อกําหนด ในหมวดนี้

ข้อ 14จัดให้มีการติดตั้งหม้อนํ้าและอุปกรณ์ประกอบและทดสอบก่อนใช้งานโดยวิศวกรเครื่องกลประเภทสามัญวิศวกรหรือวุฒิวิศวกรแล้วแต่กรณีตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม

ข้อ 15 การติดตั้งหม้อนํ้าและอุปกรณ์ประกอบ

        (1) ให้ติดตั้งหม้อนํ้าและอุปกรณ์แยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะออกจากเครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร

        (2) กรณีติดตั้งหม้อนํ้าอยู่ในห้องโดยเฉพาะต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างตัวหม้อนํ้ากับผนังห้องโดยรอบไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

        (3) ถ้าติดตั้งหม้อนํ้ามากกว่า 1 เครื่องต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างเปลือกหม้อนํ้าของแต่ละเครื่องไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

        (4) ต้องจัดให้มีระยะห่างระหว่างเปลือกหม้อนํ้าด้านบนถึงเพดานหรือหลังคาไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร

       (5)ต้องจัดให้มีเหล็กยึดโยงท่อที่ต่อจากหม้อนํ้าที่มั่นคงแข็งแรงและอยู่ในลักษณะที่สามารถรับการขยายตัวและหดตัวของท่ออย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม

ข้อ 16 หม้อนํ้าที่สูงเกิน 3 เมตรจากพื้นถึงเปลือกหม้อนํ้าด้านบนนายจ้างต้องจัดทําบันไดและทางเดินเพื่อให้ผู้ควบคุมซ่อมแซมหรือเดินได้สะดวกปลอดภัย พร้อมจัดให้มีราวจับและขอบกั้นของตกและพื้นที่ทํางานทุกชั้นและต้องจัดให้มีทางออกอย่างน้อยสองทาง

ข้อ 17 ห้องหม้อนํ้าหรือห้องควบคุมต้องจัดให้มีทางออกไม่น้อยกว่าสองทาง ซึ่งอยู่คนละด้านกัน

ข้อ 18 พื้นห้อง ชั้นบันไดและพื้นต่างๆ ต้องใช้วัสดุกันลื่น และช่องเปิดที่พื้นต้องมีขอบกั้นของตก

ข้อ 19ห้องหม้อนํ้าต้องจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอ เครื่องวัดต่างๆและอุปกรณ์ประกอบต้องมีแสงสว่างให้เพียงพอที่จะอ่านค่าและควบคุมได้สะดวกสิ่งกีดขวางทางเดินหรือสิ่งกีดขวางพาดตํ่ากว่าระดับศีรษะต้องทําเครื่องหมายโดยทาสีหรือใช้เทปสะท้อนแสงติดไว้ให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ข้อ 20 จัดให้มีระบบไฟแสงสว่างฉุกเฉินส่องไปยังทางออก และเครื่องวัดต่างๆ รวมทั้งแผงควบคุมให้เห็นอย่างชัดเจนในกรณีเกิดไฟฟ้าดับ

ข้อ 21จัดให้มีฐานรากที่ตั้งของหม้อนํ้าที่มั่นคงแข็งแรงและทนต่อแรงดันและแรงกดรวมถึงแรงดันจากการขยายตัวของหม้อนํ้าการออกแบบและคํานวณให้เป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม

ข้อ 22 จัดให้มีปล่องควันและฐานที่มั่นคงแข็งแรง เป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม

ข้อ 23 จัดให้มีฉนวนที่เหมาะสมหุ้มเปลือกหม้อนํ้าและท่อที่ร้อนทั้งหมด

ข้อ 24จัดให้มีลิ้นนิรภัยและการติดตั้งที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน ISO ASME JISDIN BS หรือมาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรองและต้องปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

       (1) หม้อนํ้าทุกเครื่องต้องมีลิ้นนิรภัยอย่างน้อยหนึ่งตัวแต่ถ้ามีผิวรับความร้อนมากกว่า 50 ตารางเมตรต้องมีลิ้นนิรภัยอย่างน้อยสองตัวและลิ้นนิรภัยตัวเล็กที่สุดบ่าลิ้นต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า 15มิลลิเมตร

       (2)ลิ้นนิรภัยทุกตัวที่ตั้งความดันไอออกไว้สูงสุดต้องตั้งไม่เกินร้อยละสิบของความดันที่ใช้อยู่สูงสุดและต้องไม่เกินร้อยละสามของความดันที่อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุด

       (3) ห้ามติดตั้งลิ้นหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆระหว่างหม้อนํ้ากับลิ้นนิรภัยและต้องติดตั้งลิ้นนิรภัยให้ใกล้หม้อนํ้ามากที่สุดหน้าตัดของท่อส่วนที่ต่อเข้ากับลิ้นนิรภัยต้องมีขนาดไม่น้อยกว่าหน้าตัดของรูลิ้นนิรภัย

        (4)ท่อระบายไอออกของลิ้นนิรภัยที่ต่อยื่นออกไปให้ต่อประจําลิ้นแต่ละตัวพื้นที่หน้าตัดของท่อระบายต้องมีขนาดเหมาะได้มาตรฐานและท่อต่อระบายไอออกต้องยึดให้แน่นและไม่แตะกับลิ้นนิรภัยโดยตรงเพื่อไม่ให้เกิดแรงดันกระทําบนตัวลิ้นนิรภัยไม่ว่าจะอยู่ในสภาพร้อนหรือเย็น

       (5) ท่อระบายไอออกที่ต่อจากลิ้นนิรภัยต้องมีส่วนโค้งงอ 90 หรือ 45 องศาไม่เกิน 2 โค้งส่วนปลายท่อระบายไอออกต้องไม่มีสิ่งกีดขวางหรืออุดตันและไอที่ระบายออกต้องไม่เป็นอันตรายต่อบุคคลหรืออุปกรณ์อื่นๆ

ข้อ 25จัดให้มีมาตรวัดระดับนํ้าและการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ASME JISDIN BS หรือมาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรอง และต้องปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

        (1) มาตรวัดระดับนํ้าแบบหลอดแก้วต้องเป็นหลอดแก้วนิรภัย มีครอบป้องกันซึ่งสามารถดูระดับนํ้าได้ชัดเจน

       (2)กรณีหม้อนํ้ามีความสูงและห้องควบคุมจําเป็นต้องอยู่ห่างจากหม้อนํ้าและการสังเกตระดับนํ้าในหลอดแก้วทําได้ลําบากจะต้องหาวิธีการที่สามารถสังเกตระดับนํ้าในหลอดแก้วได้อาจใช้กระจกเงาสะท้อน ระบบโทรทัศน์หรือวิธีอื่นที่เหมาะสม

        (3) ต้องติดตั้งสัญญาณแสงและเสียงเตือนเมื่อระดับนํ้าตํ่ากว่าขีดอันตราย

       (4) ท่อทางนํ้าและไอนํ้าที่เข้ามาตรวัดระดับนํ้าต้องมีลิ้นปิด-เปิดคั่นระหว่างหม้อนํ้ากับมาตรวัดระดับนํ้าปลายท่อระบายนํ้าของมาตรวัดระดับนํ้าชุดควบคุมระดับนํ้าและก๊อกทดสอบต้องต่อในที่ที่ปลอดภัยและอยู่ในตําแหน่งที่สามารถเห็นหรือได้ยินเสียงได้ชัดเจน

        (5)ท่อหรืออุปกรณ์ประกอบที่ต่อระหว่างหม้อนํ้ากับมาตรวัดระดับนํ้าต้องให้สั้นที่สุดและต้องระบายนํ้าในท่อหรืออุปกรณ์ประกอบออกได้หมดห้ามต่อเอาไอจากส่วนนี้ไปใช้งาน

ข้อ 26จัดให้มีมาตรวัดความดันไอนํ้าและการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ASMEJIS DIN BS หรือมาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรอง และปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

       (1)จัดให้มีสเกลที่วัดได้ระหว่างหนึ่งเท่าครึ่งถึงสองเท่าของความดันที่ใช้งานสูงสุดและมีขีดสีแดงบอกความดันใช้งานสูงสุดของหม้อนํ้าไว้ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางหน้าปัทม์ของมาตรวัดไอนํ้า ต้องไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร

       (2) จัดให้มีการติดตั้งมาตรวัดความดันไอนํ้าที่ไม่สัมผัสกับไอนํ้าโดยตรงโดยให้มีท่อขดเป็นวงกลมที่มีนํ้าขังอยู่หรืออุปกรณ์อื่นที่ทํางานคล้ายกันเป็นตัวถ่ายทอดแรงดันอีกต่อหนึ่ง

        (3) ดูแลรักษามาตรวัดความดันไอนํ้าให้อยู่ในสภาพดีและอ่านค่าได้ถูกต้องชัดเจน

       (4)ติดตั้งมาตรวัดความดันไอนํ้าในตําแหน่งที่ไม่มีการสั่นสะเทือนและสะดวกในการเข้าปรับแต่งและอยู่ในตําแหน่งที่ควบคุมสามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่มีสิ่งกีดขวางบังสายตาในขณะปฏิบัติงาน

        (5) ติดตั้งมาตรวัดความดันไอนํ้าและข้อต่อในบริเวณที่มีอุณหภูมิไม่ตํ่ากว่า 4 องศาเซลเซียสและไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส

       (6)ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องเอียงมาตรวัดความดันไอนํ้าให้เอียงหน้าลงเพื่อให้เห็นได้ชัดโดยทํามุมไม่เกิน 30 องศาจากแนวดิ่ง

ข้อ 27จัดให้มีส่วนระบายนํ้าทิ้งและการติดตั้งที่เป็นไปตามมาตรฐาน ISO ASME JISDIN BS หรือมาตรฐานอื่นที่กรมแรงงานรับรองและต้องปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้

       (1) ต้องติดตั้งลิ้นระบายที่หม้อนํ้าทุกเครื่องแต่ละท่อระบายต้องมีลิ้นระบายไม่น้อยกว่า 2 ตัว โดยติดตั้ง ณจุดตํ่าสุดของหม้อนํ้าท่อระบายนํ้าทิ้งที่ต่อระหว่างหม้อนํ้ากับลิ้นระบายต้องให้สั้นที่สุด

        (2) ท่อระบายและข้อต่อต้องติดตั้งในบริเวณที่ไม่ชื้นแฉะหรืออับอากาศอันอาจเกิดการผุกร่อนได้

       (3) ลิ้นปิด-เปิด ท่อระบายต้องอยู่ในตําแหน่งที่เข้าไปปฏิบัติงานได้ง่ายถ้าติดตั้งอยู่ตํ่ามากหรือในบริเวณที่คับแคบเข้าไปปิด-เปิดไม่สะดวกต้องต่อก้านสําหรับปิด-เปิด ให้สามารถปิด-เปิด ได้สะดวกปลอดภัย

       (4)ติดตั้งท่อระบายลงในที่ที่เห็นได้ง่ายเมื่อเกิดการรั่วและปลายท่อระบายต้องต่อลงในที่ที่ปลอดภัยและอยู่ในตําแหน่งที่สามารถมองเห็นและได้ยินเสียงได้ชัดเจน

        (5)ท่อที่ต่อจากท่อระบายต้องมีเหล็กยึดโยงให้มั่นคงแข็งแรงและต่อในลักษณะที่รับการขยายตัวและหดตัวของ ท่ออย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม

ข้อ 28 จัดให้มีสูบนํ้าเข้าหม้อนํ้าและอุปกรณ์ดังนี้

       (1)เครื่องสูบนํ้าเข้าหม้อนํ้าต้องสามารถทําความดันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของความดันใช้งานสูงสุดและมีมาตรวัดความดันติดอยู่ทางท่อส่งของเครื่องสูบนํ้า

        (2)เครื่องสูบนํ้าเข้าหม้อนํ้าต้องสามารถสูบนํ้าเข้าหม้อได้ปริมาณไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราการผลิตไอสูงสุดของหม้อนํ้า

        (3) หม้อนํ้าที่มีผิวรับความร้อนมากกว่า 50 ตารางเมตร ต้องมีเครื่องสูบนํ้าเข้าหม้อนํ้าอย่างน้อยสองชุด

       (4)ท่อนํ้าเข้าของหม้อนํ้าแต่ละเครื่องต้องมีลิ้นกันกลับและลิ้นปิด-เปิดติดตั้งใกล้กับหม้อนํ้าในกรณีที่มีอุปกรณ์ช่วยประหยัด (Economizer)ติดตั้งกับหม้อนํ้าให้ติดตั้งลิ้นดังกล่าว ณ ทางเข้าอุปกรณ์ช่วยประหยัด

ข้อ 29 ถ้าใช้ปลั๊กหลอมละลาย (Fusible plugs) ต้องปฏิบัติดังนี้

       (1) โลหะผสมที่ใช้ทําปลั๊กหลอมละลายต้องมีคุณสมบัติหลอมละลายระหว่าง230-232 องศาเซลเซียส สําหรับหม้อนํ้าที่มีความดันไม่เกิน 10 บาร์

        (2) ต้องหมั่นตรวจดูสภาพของปลั๊กอยู่เสมอ หากพบว่าอยู่ในสภาพที่ไม่ดีให้ถอดเปลี่ยนใหม่และห้ามใช้งานเกินกว่าหนึ่งปี

       (3)เกลียวที่ใช้ขันเข้าท่อไฟใหญ่ต้องเป็นลักษณะเรียวลงตรงจุดคอคอดโตไม่น้อยกว่า 9 มิลลิเมตร ความยาวส่วนที่หลอมละลายไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตรและปลายทางออกด้านไฟไม่น้อยกว่า 12.5 มิลลิเมตร

ข้อ 30แผงควบคุมอัตโนมัติและเครื่องวัดต่างๆ ของหม้อนํ้าต้องติดตั้งไว้ ณที่ซึ่งผู้ควบคุมสามารถมองเห็นได้ง่ายและชัดเจนสายไฟฟ้าที่ต่อจากอุปกรณ์ไปยังแผงควบคุมอัตโนมัติและเครื่องวัดต้องร้อยในท่อให้เรียบร้อย

ข้อ 31 ท่อไอนํ้า ท่อนํ้าร้อนหรือท่ออื่นๆในระบบต้องออกแบบและติดตั้งตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรม ท่อที่ใช้ต้องเป็นชนิดและแบบที่เหมาะสม

ข้อ 32 กรณีที่มีหม้อนํ้าตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปใช้ท่อจ่ายไอร่วมกันต้องติดตั้งลิ้นกันกลับที่ท่อหลังลิ้นจ่ายไอของหม้อนํ้าแต่ละเครื่อง


หมวด 3
คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้า


ข้อ 33
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้า”ประกอบด้วย อธิบดีกรมแรงงานเป็นประธานกรรมการผู้แทนกรมแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการและให้อธิบดีกรมแรงงานแต่งตั้งผู้มีประสบการณ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางวิศวกรรมเครื่องกลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้หม้อนํ้าความดันสูงผู้มีประสบการณ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางวิศวกรรมเครื่องกลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการใช้หม้อนํ้าความดันตํ่าวิศวกรที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้หม้อนํ้ามาไม่น้อยกว่าห้าปี ผู้ผลิตหม้อนํ้าผู้แทนคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยและผู้ทรงคุณวุฒิอื่น เป็นกรรมการซึ่งทั้งคณะมีจํานวนรวมกันไม่เกินสิบคน

ข้อ 34 คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้ามีหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับหม้อนํ้า

(2) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมมาตรฐานความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับหม้อนํ้า

(3) ให้คําปรึกษาแนะนําแก่กรมแรงงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการติดตั้ง ซ่อมแซม ตรวจ และอื่นๆ เกี่ยวกับหม้อนํ้า

ข้อ 35ให้กรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้าซึ่งอธิบดีกรมแรงงานแต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งคราวละสองปีกรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

ข้อ 36 นอกจากการพ้นตําแหน่งตามข้อ 35 กรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้า ซึ่งอธิบดีกรมแรงงานแต่งตั้งจะพ้นจากตําแหน่งเมื่อ

(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) อธิบดีกรมแรงงานให้ออก
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(6) ได้รับโทษจําคุกโดยคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ข้อ 37ในกรณีที่กรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้าซึ่งอธิบดีกรมแรงงานแต่งตั้งพ้นจากตําแหน่งก่อนวาระ อธิบดีกรมแรงงานอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตําแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทนกรณีที่กรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้าซึ่งอธิบดีกรมแรงงานแต่งตั้งดํารงตําแหน่งครบวาระแล้วแต่ยังไม่มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้กรรมการเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่การแต่งตั้งต้องให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กรรมการเดิมครบวาระ

ข้อ 38การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับหม้อนํ้าต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุมมติที่ประชุมต้องถือเสียงข้างมากกรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด


หมวด 4
การควบคุม

ข้อ 39ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจทดสอบและรับรองความปลอดภัยในการใช้งานของหม้อนํ้าอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งโดยวิศวกรเครื่องกลประเภทสามัญวิศวกรวุฒิวิศวกรหรือผู้ได้รับอนุญาตพิเศษให้ตรวจทดสอบหม้อนํ้าได้แล้วแต่กรณีตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมแล้วเก็บเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อนํ้าไว้เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา

กรณีมีการซ่อมที่มีผลต่อความแข็งแรงของหม้อนํ้าต้องเป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมทั้งการเลือกใช้วัสดุเทคนิคและวิธีการซ่อมภายหลังการซ่อมต้องจัดให้มีวิศวกรตรวจทดสอบก่อนใช้งานโดยบุคคลผู้มีคุณวุฒิดังกล่าวข้างต้นแล้วเก็บเอกสารรับรองความปลอดภัยในการใช้หม้อนํ้าไว้เป็นประวัติของหม้อนํ้านั้นๆ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้

ข้อ 40นายจ้างที่ดัดแปลงหม้อนํ้าต้องจัดให้มีวิศวกรที่มีคุณสมบัติตามข้อ 39ออกแบบควบคุมและรับรองความปลอดภัยของหม้อนํ้าพร้อมทั้งเก็บรายละเอียดการดัดแปลงไว้เป็นประวัติของหม้อนํ้าเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้

ข้อ 41ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าหม้อนํ้าชํารุดหรือบกพร่องอยู่ในสภาพไม่ปลอดภัยในการใช้งานพนักงานเจ้าหน้าที่อาจเตือนให้นายจ้างปรับปรุง ซ่อมแซมแก้ไขให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยปลอดภัยตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมภายในระยะเวลาที่กําหนดก่อนใช้งานต่อไปหรือให้ลดความดันใช้งานลงจนปลอดภัยและถ้าหม้อนํ้าใดอยู่ในสภาพที่ชํารุดทรุดโทรมมากเนื่องจากหมดอายุใช้งานไม่สมควรที่จะให้ใช้งานอีกต่อไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกคําสั่งห้ามใช้คําเตือนหรือคําสั่งดังกล่าวข้างต้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปิดสําเนาไว้ ณ บริเวณหม้อนํ้าให้เห็นได้ชัดเจน

ข้อ 42เมื่อนายจ้างพบหรือได้รับแจ้งว่ามีการชํารุดเสียหายของหม้อนํ้าที่มีผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานจะต้องหยุดใช้หม้อนํ้านั้นทันทีจนกว่าจะได้มีการแก้ไขให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยเสียก่อน

ข้อ 43 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างใช้หม้อนํ้าที่อยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยในการใช้งาน


หมวด 5
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล


ข้อ 44ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ทํ างานเกี่ยวกับหม้อนํ้าสวมใส่แว่นตา หน้ากากเครื่องป้องกันเสียง ที่ป้องกันความร้อนรองเท้าพื้นยางหุ้มส้นหรือเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอื่น ๆตามสภาพและลักษณะของงานและให้ถือเป็นระเบียบปฏิบัติงานของสถานประกอบการตลอดเวลาที่ลูกจ้างปฏิบัติงานนั้น

ข้อ 45 ให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามข้อ 44 ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน

ข้อ 46ห้ามนายจ้างยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ลูกจ้างที่ไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทํางานถ้าการทํางานลักษณะเช่นว่านั้นจําเป็นต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามข้อ 44

ข้อ 47 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามข้อ 44 ให้เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือตามที่กระทรวงมหาดไทยประกาศกําหนด

ข้อ 48 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้


หมวด 6
เบ็ดเตล็ด

ข้อ 49 ข้อกําหนดเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยที่กําหนดไว้ในประกาศนี้เป็นมาตรฐานขั้นตํ่าที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น

ข้อ 50สถานประกอบการที่ติดตั้งหม้อนํ้าหลังจากที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้เป็นไปตามข้อกําหนดตามประกาศนี้ทุกประการสําหรับสถานประกอบการที่ติดตั้งหม้อนํ้าก่อนประกาศนี้มีผลบังคับใช้ให้นายจ้างทําการปรับปรุง แก้ไขหม้อนํ้า ตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมตามชนิด ประเภท รายละเอียด และระยะเวลาที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด


ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2534

เจริญจิตต์ ณ สงขลา
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 200 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2534

ข้อมูลจาก สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า