กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

ความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103
ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

“สารเคมีอันตราย” หมายความว่า สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของ ของแข็งของเหลว หรือแก๊ส ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้

(1) มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทําให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็ง หรือทําให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
(2) ทําให้เกิดการระเบิดเป็นตัวทําปฏิกิริยาที่รุนแรงเป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือไวไฟ
(3) มีกัมมันตภาพรังสี

ทั้งนี้ ตามชนิดและประเภทที่อธิบดีประกาศกําหนด

“ผลิต”หมายความว่า ทํา ผสม ปรุง ปรุงแต่ง เปลี่ยนรูป แปรสภาพและหมายความรวมถึงการบรรจุ เก็บเคลื่อนย้ายและการติดฉลากหรือตราหรือสัญลักษณ์บนหีบห่อ ภาชนะบรรจุหรือสิ่งห่อหุ้มสารเคมีอันตราย

“นายจ้าง” หมายความว่าผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํ างานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนนายจ้างในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล หมายความว่าผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลนั้นและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล

“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นผู้รับค่าจ้างด้วยตนเองหรือไม่ก็ตาม

“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมแรงงาน

หมวด 1
การทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย


ข้อ 3 การขนส่ง เก็บรักษาเคลื่อนย้าย และกําจัดหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายให้นายจ้างปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนด

ข้อ 4ห้ามมิให้นายจ้างขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้ายหรือนําสารเคมีอันตรายเข้าไปในสถานประกอบการจนกว่านายจ้างจะได้จัดให้มีฉลากขนาดใหญ่พอสมควรปิดไว้ที่หีบห่อภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายทุกชิ้นฉลากนั้นจะต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(1)สัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตราย และคําว่า “สารเคมีอันตราย” หรือ “วัตถุมีพิษ”หรือคําอื่นที่แสดงถึงอันตรายตามชนิดสารเคมีอันตรายนั้นเป็นอักษรสีแดงหรือดําขนาดใหญ่กว่าอักษรอื่นซึ่งเห็นได้ชัดเจน

(2) ชื่อทางเคมีหรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสารเคมีอันตราย

(3) ปริมาณและส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย

(4) อันตรายและอาการเกิดพิษจากสารเคมีอันตราย

(5)คําเตือนเกี่ยวกับวิธีเก็บ วิธีใช้วิธีเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายและวิธีกําจัดหีบห่อภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ให้มีสาระสําคัญโดยสรุปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนดตามข้อ 3

(6) วิธีปฐมพยาบาลเมื่อมีอาการหรือความเจ็บป่วยเนื่องจากสารเคมีอันตราย และคําแนะนําให้รับส่งผู้ป่วยไปหาแพทย์
สําหรับรายละเอียดตาม (4) (5) และ (6)จะพิมพ์ไว้ในใบแทรกกํากับในภาชนะบรรจุก็ได้ฉลากและใบแทรกกํากับให้จัดทําเป็นภาษาไทย เว้นแต่รายละเอียดตาม (2) และ (3) จะใช้เป็นภาษาอังกฤษก็ได้

ข้อ 5ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการแจ้งรายละเอียดต่ออธิบดีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครองการแจ้งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกําหนด

ข้อ 6ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการจัดทํารายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตรายของสารเคมีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และแจ้งให้อธิบดีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประเมินการแจ้งตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกําหนด

ข้อ 7นายจ้างจะต้องดูแลหรือแก้ไขปรับปรุงมิให้มีปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายภายในสถานที่ที่ให้ลูกจ้างทํางานเกินกว่าที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
ในกรณีที่ได้มีการกําหนดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายใดไว้ในกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ไว้แล้วให้เป็นไปตามนั้น

ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดสถานที่ทํางานของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายให้มีสภาพและคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

(1) ถูกสุขลักษณะ สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

(2) มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยเฉพาะออกซิเจนต้องมีไม่ตํ่ากว่าร้อยละสิบแปดโดยปริมาตรของบรรยากาศ

(3)มีระบบป้องกันและกําจัด เช่น ใช้ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ระบบเปียกการปิดคลุม เพื่อมิให้มีสารเคมีอันตรายในบรรยากาศเกินปริมาณที่กําหนด

ข้อ 9นายจ้างจะต้องแจ้งและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยห้ามลูกจ้างเข้าพักในสถานที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายหรือยานพาหนะขนส่งสารเคมีอันตราย

ข้อ 10ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายแจ้งข้อความว่า “สถานที่เก็บสารเคมีอันตรายห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต”ปิดประกาศไว้ที่ทางเข้าสถานที่นั้นให้เห็นชัดเจนตลอดเวลา

ข้อ 11ให้นายจ้างปิดประกาศ หรือจัดทําป้ายแจ้งข้อความ “ห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่ม รับประทานอาหาร หรือเก็บอาหาร”ด้วยตัวอักษรขนาดที่เห็นได้ชัดเจนติดไว้บริเวณที่เก็บรักษาที่ผลิตหรือที่ขนย้ายสารเคมีอันตรายและจะต้องควบคุมดูแลมิให้ลูกจ้างกระทําการตามข้อห้ามนั้นด้วย

ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดชุดทํางานสําหรับลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และจัดให้มีที่เก็บชุดทำงานนั้นแยกไว้โดยเฉพาะ

ข้อ 13ให้นายจ้างจัดให้มีที่ชําระล้างสารเคมีอันตราย เช่น ฝักบัว ที่ล้างตาไว้ในบริเวณที่ลูกจ้างทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายเพื่อให้ลูกจ้างสามารถใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ข้อ 14ให้นายจ้างจัดที่ล้างมือ ล้างหน้าสําหรับลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้โดยเฉพาะไม่น้อยกว่าหนึ่งที่ต่อลูกจ้างสิบห้าคนและให้เพิ่มจํานวนขึ้นตามสัดส่วนของลูกจ้างส่วนที่เกินเจ็ดคนให้ถือเป็นสิบห้าคน เพื่อใช้ก่อนรับประทานอาหารก่อนดื่มเครื่องดื่ม และก่อนออกจากที่ทํางานทุกครั้ง

ข้อ 15ให้นายจ้างจัดให้มีห้องอาบนํ้าสําหรับลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้โดยเฉพาะเพื่อใช้ชําระร่างกายไม่น้อยกว่าหนึ่งห้องต่อลูกจ้างสิบห้าคนและให้เพิ่มจํานวนขึ้นตามสัดส่วนของลูกจ้าง ส่วนที่เกินเจ็ดคนให้ถือเป็นสิบห้าคนทั้งนี้จะต้องจัดของใช้ที่จําเป็นสําหรับการชําระสารเคมีอันตรายออกจากร่างกายให้เพียงพอและมีใช้ตลอดเวลา

ข้อ 16ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศบริเวณสถานที่ทํางานและสถานที่เก็บเป็นประจํา ทั้งนี้ตามสภาพหรือคุณลักษณะของสารเคมีอันตรายซึ่งอย่างช้าที่สุดจะต้องไม่เกินหกเดือนต่อหนึ่งครั้งและให้รายงานผลการตรวจตามแบบที่อธิบดีกําหนดต่ออธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด
หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันตรวจ

ข้อ 17ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรมลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงกระบวนการผลิต การเก็บรักษา การขนส่งอันตรายที่เกิดจากสารเคมี วิธีการควบคุมและป้องกัน วิธีกําจัดมลภาวะวิธีอพยพเคลื่อนย้ายลูกจ้างออกจากบริเวณที่เกิดอันตรายและวิธีปฐมพยาบาลผู้ได้รับอันตราย

ข้อ 18ในกรณีที่สารเคมีอันตรายรั่วไหลหรือฟุ้งกระจายหรือเกิดอัคคีภัยหรือเกิดการระเบิดอันอาจทําให้ลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วย หรือตายอย่างเฉียบพลันนายจ้างต้องให้ลูกจ้างทุกคนที่ทํางานในบริเวณนั้นหรือในบริเวณใกล้เคียงหยุดทํางานทันที และออกไปให้พ้นรัศมีที่อาจได้รับอันตรายและให้นายจ้างดําเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโดยมิชักช้าให้นายจ้างแจ้งการเกิดเหตุตามวรรคหนึ่งเป็นหนังสือให้อธิบดีผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงและรายงานสาเหตุ สารเคมีอันตรายที่เกี่ยวข้องตลอดจนการดําเนินการแก้ไขป้องกันภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เกิดเหตุ

ข้อ 19ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกําหนดการตรวจสุขภาพทุกครั้งให้นายจ้างปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1)ให้รายงานผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามแบบที่อธิบดีกําหนดต่ออธิบดีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ

(2)เก็บผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ ณสถานประกอบการพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างของลูกจ้างแต่ละรายเว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือมีการฟ้องร้องคดี แม้จะพ้นเวลาที่กําหนดให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคําสั่งหรือคําพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว

ข้อ 20การตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามข้อ 19 หากพบความผิดปกติในร่างกายของลูกจ้างหรือลูกจ้างเกิดเจ็บป่วยเนื่องจากการทํางานเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายให้นายจ้างจัดการให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที

หมวด 2
การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล


ข้อ 21ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือรองเท้าหุ้มแข้ง กระบังหน้าที่กันอันตรายจากสารเคมีกระเด็น ที่กรองอากาศเครื่องช่วยหายใจ หรืออุปกรณ์อื่นที่จําเป็นซึ่งทําจากวัสดุที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันสารเคมีอันตรายเพื่อให้ลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายใช้หรือสวมใส่ทั้งนี้ตามความเหมาะสมแก่สภาพและคุณลักษณะของสารเคมีอันตรายแต่ละชนิดลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายต้องใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดไว้ให้ตามวรรคหนึ่งถ้าลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวให้นายจ้างสั่งหยุดการทํางานของลูกจ้างทันทีจนกว่าจะได้ใช้หรือสวมใส่

ข้อ 22 ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นแก่การปฐมพยาบาลลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมีทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกําหนด


หมวด 3
เบ็ดเตล็ด


ข้อ 23 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดําเนินการให้เกิดความปลอดภัยตามประกาศนี้

ข้อ 24เมื่อปรากฏว่านายจ้างฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดในประกาศนี้พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คําเตือนเพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดไว้ในคําเตือนเสียก่อนก็ได้


ประกาศ ณ วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534

พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 167 วันที่ 24 กันยายน 2534
ข้อมูลจาก สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า