กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ เพื่อความปลอดภัยในการทํางานสําหรับลูกจ้าง

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515กระทรวงมหาดไทยจึงออกประกาศสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทํางานสําหรับลูกจ้างโดยวางมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

“นายจ้าง”หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนนายจ้างในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล หมายความว่าผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลนั้น และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล

“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นผู้รับค่าจ้างด้วยตนเองหรือไม่ก็ตาม

“อาคาร” หมายความว่า อาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

“อาคารไม้” หมายความว่า โครงสร้างของอาคารในส่วนที่เป็นผนัง พื้น หรือหลังคาที่ทําด้วยไม้

“อาคารที่ไหม้ไฟช้า” หมายความว่า โครงสร้างของอาคารในส่วนที่เป็นกําแพงปูน และเสาไม้ที่ลุกไหม้ได้ช้า

“อาคารทนไฟ”หมายความว่า โครงสร้างของอาคารในส่วนที่เป็นผนัง แผ่นกั้น พื้น บันไดหลังคา ขอบโครงหน้าต่าง กรอบกระจก ประตูและสิ่งตกแต่งภายในที่ไม่พังทลายขณะเผาไหม้ในช่วงเวลาหนึ่ง

“สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างเบา”หมายความว่า สถานที่ที่อาจเกิดเพลิงไหม้ได้โดยเพลิงนั้นเกิดจากวัตถุหรือของเหลวที่มีอยู่หรือใช้ในบริเวณนั้นซึ่งไหม้ไฟได้อย่างช้าหรือมีควันน้อยหรือไม่ระเบิด

“สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างปานกลาง”หมายความว่า สถานที่ที่อาจเกิดเพลิงไหม้ได้โดยเพลิงนั้นเกิดจากวัตถุหรือของเหลวที่มีอยู่หรือใช้ในบริเวณนั้นซึ่งไหม้ไฟได้อย่างปานกลางมีควันปานกลางหรือมากแต่ไม่เป็นพิษหรือไม่ระเบิดได้

“สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรง”หมายความว่า สถานที่ที่อาจเกิดเพลิงไหม้ได้โดยเพลิงนั้นเกิดจากวัตถุหรือของเหลวที่มีอยู่หรือใช้ในบริเวณนั้นซึ่งไหม้ไฟได้อย่างรวดเร็ว หรือมีควันซึ่งเป็นพิษหรือระเบิดได้

“เพลิงประเภท เอ” หมายความว่า เพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้ากระดาษ ยาง พลาสติก

“เพลิงประเภท บี” หมายความว่า เพลิงที่เกิดจากของเหลวติดไฟ ก๊าซ และนํ้ามันประเภทต่างๆ

“เพลิงประเภท ซี” หมายความว่า เพลิงที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือวัตถุที่มีกระแสไฟฟ้า

“เพลิงประเภท ดี” หมายความว่า เพลิงที่เกิดจากโลหะต่างๆ ที่ติดไฟ แมกนีเซียม เซอร์โคเนียม ไทเทเนียม

“วัตถุไวไฟ” หมายความว่า วัตถุที่มีคุณสมบัติ ติดไฟได้ง่าย สันดาปเร็ว

“วัตถุไวไฟชนิดของเหลว”หมายความว่าของเหลวที่มีคุณสมบัติที่สามารถระเหยเป็นไอที่อุณหภูมิไม่เกินหนึ่งร้อยองศาเซลเซียส ไอระเหยนี้เมื่อสัมผัสกับอากาศถ้าจุดไฟก็จะติดได้

“วัตถุระเบิด” หมายความว่า วัตถุระเบิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

“ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย” หมายความว่า สิ่งที่จัดทําหรือติดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย

“แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย” หมายความว่า แนวทางปฏิบัติที่จะใช้ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย

“เครื่องดับเพลิง”หมายความว่าเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงตามมาตรฐานที่กําหนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของสํ านักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

หมวด 1
ข้อกําหนดทั่วไป

ข้อ 3ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการจัดอุปกรณ์ดับเพลิงการเก็บรักษาวัตถุไวไฟและวัตถุระเบิดการกําจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่าย การป้องกันฟ้าผ่าการติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ การจัดทําทางหนีไฟรวมถึงการก่อสร้างอาคารที่มีระบบป้องกันอัคคีภัย

ข้อ 4ให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเกี่ยวกับการตรวจตรา การอบรมการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟการบรรเทาทุกข์และการปฏิรูปฟื้นฟูเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นแล้วให้นายจ้างเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้ ณสถานที่ทํางานพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้

ข้อ 5อาคารที่มีหลายสถานประกอบการตั้งอยู่ให้นายจ้างของแต่ละสถานประกอบการร่วมกันจัดให้มีระบบและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในส่วนของอาคารที่ใช้ร่วมกัน

หมวด 2
ความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ


ข้อ 6ในกรณีที่อาคารก่อสร้างด้วยวัตถุซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยดังต่อไปนี้ นายจ้างจะให้ลูกจ้างทํางานได้ไม่เกินจํานวนชั้นของอาคารตามที่กําหนดดังนี้

(1)สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากอัคคีภัยอย่างเบาสําหรับอาคารไม้ไม่เกินสามชั้นอาคารที่ไหม้ไฟช้าไม่เกินเจ็ดชั้นและอาคารทนไฟไม่จํากัดจํานวนชั้น

(2)สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างปานกลางสําหรับอาคารไม้ไม่เกินสองชั้น อาคารที่ไหม้ไฟช้าไม่เกินหกชั้นและอาคารทนไฟไม่จํากัดจํานวนชั้น

(3)สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรงสําหรับอาคารไม้ไม่เกินหนึ่งชั้น อาคารที่ไหม้ไฟช้าไม่เกินสี่ชั้นและอาคารทนไฟไม่จํากัดจํานวนชั้น

ในกรณีที่นายจ้างได้จัดให้มีระบบนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติหรือสารเคมีฉีดดับเพลิงอัตโนมัติไว้จํานวนชั้นของอาคารที่ให้ลูกจ้างทํางานตามวรรคหนึ่งสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกสองชั้น

ข้อ 7ในกรณีที่นายจ้างประกอบกิจการผลิตโดยมีหรือใช้สิ่งใดที่อาจก่อให้เกิดการระเบิดอย่างร้ายแรงหรือติดไฟได้ง่าย นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

(1) จัดแยกอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการผลิตดังกล่าวออกต่างหากจากอาคารอื่น

(2) ให้มีลูกจ้างทํางานในอาคารดังกล่าวในจํ านวนน้อยที่สุดเฉพาะที่จําเป็น

ข้อ 8 นายจ้างต้องจัดให้มีช่องทางผ่านสู่ทางออกซึ่งมีความกว้างของช่องทางไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร

สําหรับบริเวณที่มีเครื่องจักรติดตั้งอยู่หรือมีกองวัตถุสิ่งของหรือผนังหรือสิ่งอื่นนายจ้างต้องจัดให้มีช่องทางผ่านสู่ทางออกซึ่งมีความกว้างของช่องทางไม่น้อยกว่าแปดสิบเซนติเมตร

ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานพบว่าอาจเกิดอันตรายได้จากเครื่องจักร ขนาดของชิ้นงาน เศษวัตถุการวางตั้งหรือกองวัตถุสิ่งของจะกําหนดให้มีช่องทางผ่านสู่ทางออกที่กว้างกว่าที่กําหนดในวรรคสองก็ได้ตามความเหมาะสม

ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้มีทางออกและทางออกสุดท้าย ดังต่อไปนี้

(1)ให้มีทางออกทุกชั้นอย่างน้อยสองทางที่สามารถอพยพลูกจ้างทั้งหมดออจากบริเวณที่ทํางานออกสู่ทางออกสุดท้ายได้ภายในเวลาไม่เกินห้านาทีโดยปลอดภัย

(2)ช่องทางผ่านไปสู่ทางออกหรือห้องบันไดฉุกเฉินต้องมีระยะห่างจากจุดที่ลูกจ้างทํางานไม่เกินสิบห้าเมตรสําหรับสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากอัคคีภัยอย่างร้ายแรงและไม่เกินสามสิบเมตรสําหรับสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากอัคคีภัยอย่างปานกลางหรืออย่างเบา ห้องบันไดฉุกเฉินจะต้องสามารถป้องกันไฟและควันหรือมีช่องทางฉุกเฉินที่มีผนังทนไฟ

(3)ช่องทางผ่านสู่ประตูทางออกสุดท้ายภายนอกอาคารต้องมีความกว้างอย่างน้อยไม่ตํ่ากว่าหนึ่งเมตรสิบเซนติเมตร ในกรณีที่มีคนงานเกินห้าสิบคนขึ้นไปขนาดของความกว้างของทางออกสุดท้ายต้องกว้างขึ้นอีกหกสิบเซนติเมตรหรือมีช่องทางเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยหนึ่งช่องทาง

(4) ทางออกสุดท้ายต้องไปสู่บริเวณที่ปลอดภัย เช่น ถนน สนาม

ข้อ 10 บันไดในสถานประกอบการ ให้นายจ้างปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) บันไดและชานบันไดในอาคารตั้งแต่สี่ชั้นขึ้นไปให้สร้างด้วยวัตถุทนไฟ

(2)อาคารตั้งแต่สามชั้นขึ้นไป ถ้าหลังคามีความลาดเอียงหนึ่งในสี่หรือน้อยกว่าจะต้องมีบันไดหนีไฟที่ออกสู่หลังคาซึ่งสร้างด้วยวัตถุทนไฟอย่างน้อยหนึ่งบันได

(3)ให้ทําเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่เห็นได้เด่นชัดชี้นําจากบันไดสู่ทางออกภายนอกในกรณีที่ใช้ปล่องทางหนีไฟแทนบันไดเส้นทางลงสู่ปล่องทางลงภายในปล่องตลอดจนพื้นฐานของปล่องจะต้องใช้วัสดุทนไฟและประตูปล่องต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟและปลอดภัยจากควันไฟ นํ้าหรือสิ่งอื่นใดที่ใช้ในการดับเพลิง

ข้อ 11 ประตูที่ใช้ในเส้นทางหนีไฟ จะต้องมีลักษณะและคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) ติดตั้งในจุดที่เห็นชัดเจนโดยไม่มีสิ่งของกีดขวาง
(2) ต้องเป็นชนิดที่เปิดเข้าออกได้ทั้งสองด้านและปิดได้เอง
(3) ต้องมิใช่ประตูเลื่อนแนวดิ่ง ประตูม้วน และประตูหมุน
(4) ประตูบันไดจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของช่องบันได
(5) ประตูที่เปิดสู่บันไดจะต้องไม่เปิดตรงบันได และมีชานประตูอย่างน้อยเท่ากับความกว้างของประตูในทุกจุดที่ประตูเปิดออกไป
(6) ประตูเปิดออกสู่ภายนอกอาคารต้องเป็นชนิดเปิดออกภายนอก ห้ามปิด ผูกหรือล่ามโซ่ประตูเข้าออกจากอาคารในขณะที่มีลูกจ้างปฏิบัติงาน
(7) ส่วนของประตูต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟ

ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดเก็บวัตถุต่างๆ ดังต่อไปนี้

(1) วัตถุเมื่อรวมกันแล้วจะเกิดการลุกไหม้ให้แยกเก็บโดยมิให้ปะปนกัน
(2) วัตถุซึ่งโดยสภาพสามารถอุ้มนํ้าหรือซับนํ้าได้มาก ให้จัดเก็บไว้บนพื้นของอาคารซึ่งรองรับนํ้าหนักที่เพิ่มขึ้นได้

ข้อ 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเส้นทางหนีไฟที่ปราศจากสิ่งกีดขวาง จากจุดที่ลูกจ้างทํางานในแต่ละหน่วยงานไปสู่สถานที่ที่ปลอดภัย


หมวด 3
การดับเพลิง


ข้อ 14
ให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิง ดังต่อไปนี้

(1) ระบบนํ้าดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบ
(2) เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ

ข้อ 15 ให้นายจ้างจัดระบบนํ้าดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิง ดังต่อไปนี้

(1)จัดเตรียมนํ้าสํารองไว้ใช้ในการดับเพลิงโดยมีอัตราส่วนปริมาณนํ้าที่สํารองต่อเนื้อที่อาคารตามตารางต่อไปนี้ในกรณีที่ไม่มีท่อนํ้าดับเพลิงของทางราชการในบริเวณที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือมีแต่ปริมาณนํ้าไม่เพียงพอ

เนื้อที่

ปริมาณนํ้าที่สํารอง
ไม่เกิน 250 ตารางเมตร

9,000 ลิตร

เกิน 250 ตารางเมตรแต่ไม่เกิน 500 ตารางเมตร

15,000 ลิตร

เกิน 500 ตารางเมตรแต่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร

27,000 ลิตร

เกิน 1,000 ตารางเมตร

36,000 ลิตร


(2)ระบบการส่งนํ้า ที่เก็บกักนํ้าปั๊มนํ้าและการติดตั้งจะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากวิศวกรโยธาซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมรับรองและต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเมื่อเกิดเพลิงไหม้

(3)ข้อต่อสายส่งนํ้าดับเพลิงเข้าอาคารและภายในอาคารจะต้องเป็นแบบเดียวกันหรือขนาดเท่ากันกับที่ใช้ในหน่วยดับเพลิงของทางราชการในท้องถิ่นนั้นการติดตั้งต้องมีสิ่งป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากยานพาหนะหรือสิ่งอื่น

(4)ข้อต่อสายส่งนํ้าดับเพลิงและกระบอกฉีดที่ใช้ฉีดเพลิงโดยทั่วไปจะต้องเป็นแบบเดียวกันหรือขนาดเท่ากันกับที่ใช้ในหน่วยดับเพลิงของทางราชการในท้องถิ่นนั้นซึ่งสามารถต่อเข้าด้วยกันได้และต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี

(5) สายส่งนํ้าดับเพลิงต้องมีความยาวหรือต่อกันให้มีความยาวเพียงพอที่จะควบคุมบริเวณที่เกิดเพลิงได้

ข้อ 16 การใช้เครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือนายจ้างต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามประเภทของเพลิงดังต่อไปนี้
        ก. ให้ใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้นํ้าสะสมแรงดันหรือสารเคมีดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท เอ
       ข.ให้ใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้สารเคมีดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์หรือโฟม หรือผงเคมีแห้ง หรือสารเคมีดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภทบี
       ค.ให้ใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ใช้สารเคมีดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์หรือผงเคมีแห้ง หรือสารเคมีดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท ซี
        ง. ให้ใช้เครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามชนิดของสารเคมีที่สามารถดับเพลิงประเภท ดี
        จ. ห้ามใช้เครื่องดับเพลิงที่อาจเกิดไอระเหยของสารพิษเช่น คาร์บอนเตตราคลอไรด์

(2) ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงตามชนิด จํานวน และให้ทําการติดตั้งดังต่อไปนี้
       ก. เครื่องดับเพลิงแบบมือถือชนิดที่ใช้ดับเพลิงประเภท เอชนิดของเครื่องดับเพลิงที่ใช้ให้คํานวณตามพื้นที่ของสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยที่กําหนดตามตาราง ดังต่อไปนี้

ชนิดของ
เครื่องดับเพลิง

พื้นที่ของสถานที่
ซึ่งมีสภาพเสี่ยง
ต่อการเกิดอัคคีภัย
อย่างเบา
ต่อเครื่องดับเพลิง 1เครื่อง

พื้นที่ของสถานที่
ซึ่งมีสภาพเสี่ยง
ต่อการเกิดอัคคีภัย
อย่างปานกลาง
ต่อเครื่องดับเพลิง 1 เครื่อง

พื้นที่ของสถานที่
ซึ่งมีสภาพเสี่ยง
ต่อการเกิดอัคคีภัย
อย่างร้ายแรง
ต่อเครื่องดับเพลิง 1 เครื่อง

1 - เอ

200 ตร.ม.

ไม่อนุญาตให้ใช้

ไม่อนุญาตให้ใช้

2 - เอ

560 ตร.ม.

200 ตร.ม.

ไม่อนุญาตให้ใช้

3 - เอ

840 ตร.ม.

420 ตร.ม.

200 ตร.ม.

4 - เอ

1,050 ตร.ม.

560 ตร.ม.

370 ตร.ม.

5 - เอ

1,050 ตร.ม.

840 ตร.ม.

560 ตร.ม.

10 - เอ

1,050 ตร.ม.

1,050 ตร.ม.

840 ตร.ม.

20 - เอ

1,050 ตร.ม.

1,050 ตร.ม.

840 ตร.ม.

40 - เอ

1,050 ตร.ม.

1,050 ตร.ม.

1,050 ตร.ม.


นายจ้างจะใช้เครื่องดับเพลิงชนิดสูงกว่าความสามารถในการดับเพลิงตามพื้นที่ที่กําหนดในตารางตามวรรคหนึ่งก็ได้แต่ในกรณีที่ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดที่ตํ่ากว่าความสามารถในการดับเพลิงตามพื้นที่ที่กําหนดในวรรคหนึ่งให้เพิ่มจํานวนเครื่องดับเพลิงชนิดนั้นให้ได้สัดส่วนกับพื้นที่ที่กําหนดการคํานวณใช้ชนิดเครื่องดับเพลิงตามสัดส่วนพื้นที่ของสถานที่ที่กําหนดในวรรคหนึ่ง และวรรคสองถ้ามีเศษของพื้นที่ให้นับเป็นพื้นที่เต็มส่วน ที่ต้องเพิ่มจํานวนเครื่องดับเพลิงขึ้นอีกหนึ่งเครื่อง

ในกรณีที่สถานที่มีพื้นที่เกินกว่าที่กําหนดไว้ในตารางตามวรรคหนึ่งนายจ้างจะต้องเพิ่มเครื่องดับเพลิงโดยคํานวณตามสัดส่วนของพื้นที่ตามที่กําหนดไว้ในตารางดังกล่าว

ในกรณีที่นายจ้างติดตั้งเครื่องดับเพลิงตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เครื่องดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีระยะห่างกันไม่เกินยี่สิบเมตร

       ข. เครื่องดับเพลิงแบบมือถือชนิดที่ใช้ดับเพลิงประเภท บีชนิดของเครื่องดับเพลิงที่ใช้ให้ติดตั้งโดยมีระยะห่างจากวัสดุที่จะก่อให้เกิดเพลิงประเภท บีในสถานที่ตามสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยตามที่กําหนดในตารางต่อไปนี้

สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อ
การเกิดอัคคีภัย

ชนิดของเครื่องดับเพลิง

ระยะห่างจากวัสดุที่ก่อให้เกิด
เพลิงประเภท บี

อย่างเบา

5 - บี
10 - บี

9 เมตร
15 เมตร

อย่างปานกลาง

10 - บี
20 - บี

9 เมตร
15 เมตร

อย่างร้ายแรง

20 - บี
40 - บี

9 เมตร
15 เมตร

        ค. เครื่องดับเพลิงที่กําหนดไว้ใน(2) ต้องมีมาตรฐานที่ทางราชการกําหนดหรือยอมรับ
       ง.เครื่องดับเพลิงแบบมือถือทุกเครื่องต้องมีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นชนิดใดใช้ดับไฟประเภทใดเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต้องมีขนาดที่มองเห็นได้ชัดจนในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรห้าสิบเซนติเมตร

(3) ข้อปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ

        ก. ต้องมีการซ่อมบํารุงและตรวจตราให้มีสารที่ใช้ในการดับเพลิงตามปริมาตรที่ทางราชการกําหนดตามชนิดของเครื่อง
       ข.ต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพของเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่าหกเดือนต่อหนึ่งครั้งและเก็บผลไว้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจได้ตลอดเวลา
        ค.เครื่องดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีนํ้าหนักสุทธิไม่เกินยี่สิบกิโลกรัมติดตั้งสูงจากพื้นที่ทํางานไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรแต่ไม่เกินหนึ่งเมตรสี่สิบเซนติเมตร
        ง. ต้องมีการตรวจสอบการติดตั้งให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ
        จ. ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด และวิธีใช้ เป็นภาษาไทยที่เห็นได้ชัดเจนติดไว้ ณ จุดติดตั้ง

ข้อ 17 ในกรณีที่นายจ้างจัดให้มีระบบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ต้องปฏิบัติดังนี้

(1) ระบบนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติต้องได้มาตรฐานที่ทางราชการกําหนดหรือยอมรับ

(2) ต้องเปิดวาล์วประธานที่ควบคุมระบบจ่ายนํ้าเข้าอยู่ตลอดเวลา และจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลให้ใช้งานได้ตลอดเวลาที่มีการทํางาน

(3) ต้องติดตั้งสัญญาณเพื่อเตือนภัยในขณะที่ระบบนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติกําลังทํางาน หรือกรณีอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในระบบผิดปกติ

(4) ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางนํ้าจากหัวฉีดนํ้าดับเพลิงของระบบนี้อย่างน้อยหกสิบเซนติเมตรโดยรอบ

ข้อ 18ในสถานที่ทํางานที่มีการติดตั้งระบบนํ้าดับเพลิงอัตโนมัติหรือระบบสารเคมีอัตโนมัติให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถือตามที่กําหนดในข้อ 16 ด้วย

ข้อ 19 ให้นายจ้างปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์ดับเพลิงดังต่อไปนี้

(1) ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงในที่เห็นได้ชัดเจนและสามารถหยิบใช้งานได้สะดวกโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง

(2)จัดให้มีการดูแลรักษาอุปกรณ์ดับเพลิงและตรวจสอบให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งหรือตามระยะเวลาที่ผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นกําหนดเว้นแต่เครื่องดับเพลิงแบบมือถือให้ตรวจสอบตามระยะเวลาที่กําหนดในข้อ16(3) ข. และติดป้ายแสดงผลการตรวจสอบ วันที่ทําการตรวจสอบครั้งสุดท้ายไว้ที่อุปกรณ์ดังกล่าวและเก็บผลไว้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา

(3)จัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกําหนด หรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจํานวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบการ

ข้อ 20 ให้นายจ้างจัดลูกจ้างเพื่อทําหน้าที่ดับเพลิงโดยเฉพาะอยู่ตลอดเวลาที่มีการทํางาน

ข้อ 21ให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิงและการฝึกซ้อมดับเพลิงโดยเฉพาะ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ถุงมือ หมวกหน้ากากป้องกันความร้อน หรือควันพิษ เป็นต้น ไว้ให้ลูกจ้างใช้ในการดับเพลิง


หมวด 4
การป้องกันแหล่งก่อเกิดการกระจายตัวของความร้อน

ข้อ 22 ให้นายจ้างป้องกันแหล่งก่อเกิดการกระจายตัวของความร้อนดังต่อไปนี้

(1) ป้องกันมิให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรตามกฏหมายว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

(2)ป้องกันอัคคีภัยจากเครื่องยนต์หรือปล่องไฟเพื่อมิให้เกิดลูกไฟหรือเขม่าไฟกระเด็นถูกวัตถุที่ติดไฟได้ เช่น นําวัตถุติดไฟออกจากบริเวณนั้นหรือจัดทําที่ครอบป้องกันลูกไฟหรือเขม่าไฟ

(3)ป้องกันอัคคีภัยที่เกิดจากการแผ่รังสีการนําหรือการพาความร้อนจากแหล่งกําเนิดความร้อนสูงไปสู่วัสดุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น จัดทําฉนวนหุ้มหรือปิดกั้น

(4)ป้องกันอัคคีภัยจากการทํางานที่เกิดจากการเสียดสีเสียดทานของเครื่องจักรเครื่องมือที่เกิดประกายไฟหรือความร้อนสูงที่อาจทําให้เกิดการลุกไหม้ได้เช่น การซ่อมบํารุง หรือหยุดพักการใช้งาน

(5)เพื่อป้องกันการสะสมของไฟฟ้าสถิตย์ให้ต่อสายดินกับถังหรือท่อนํ้ามันเชื้อเพลิง สารเคมีหรือของเหลวไวไฟโดยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

หมวด 5
วัตถุไวไฟและวัตถุระเบิด

ข้อ 23 ในกรณีที่นายจ้างมีหรือเก็บรักษาวัตถุไวไฟและวัตถุระเบิดไว้ในสถานประกอบการให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1)วัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดรวมตลอดถึงวัตถุที่เมื่ออยู่รวมกันแล้วจะเกิดปฏิกิริยาหรือการหมักหมมทําให้กลายเป็นวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดให้แยกเก็บโดยไม่ให้ปะปนกันและต้องเก็บในห้องที่มีผนังทนไฟและประตูทนไฟที่ปิดได้เองและปิดกุญแจห้องทุกครั้งเมื่อไม่มีการปฏิบัติงานในห้องนั้นแล้ว

(2)วัตถุที่เป็นตัวเติมอ๊อกซิเจนหรือวัตถุที่ไวต่อการทําปฏิกิริยาแล้วเกิดการลุกไหม้ได้ให้แยกเก็บไว้ต่างหากในอาคารทนไฟ ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารหรือวัตถุติดไฟในระยะที่ปลอดภัย

(3)ภาชนะที่ใช้บรรจุวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดรวมทั้งอุปกรณ์ประกอบต้องมีสภาพที่แข็งแรงทนทานได้รับการดูแลให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งานอยู่เสมอ

(4) ภาชนะบรรจุที่ใช้ในการขนถ่ายวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดต้องเป็นแบบที่เคลื่อนย้ายได้ด้วยความปลอดภัย

(5) ห้ามเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดไว้ที่บริเวณประตูเข้า-ออก บันไดหรือทางเดิน

(6)จัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในห้องเก็บและห้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟและต้องป้องกันมิให้อากาศที่ระบายออกเป็นอันตรายต่อผู้อื่น

(7) ควบคุมมิให้เกิดการรั่วไหลหรือการระเหยของวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดการติดไฟ

(8)ต้องจัดทําป้าย “วัตถุระเบิดห้ามสูบบุหรี่” หรือ “วัตถุไวไฟห้ามสูบบุหรี่”แล้วแต่กรณีด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดไม่ตํ่ากว่ายี่สิบเซนติเมตรบนพื้นสีขาวติดไว้ให้เห็นได้ชัดเจนที่หน้าห้องเก็บวัตถุดังกล่าวและห้ามบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไป

(9)ต้องจัดให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานนั้น

(10) อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยต่างๆต้องเป็นชนิดไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ หรือเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ได้

ข้อ 24 ในกรณีที่วัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดเป็นของเหลว นอกจากการปฏิบัติตามข้อ 23 แล้ว นายจ้างต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) การเก็บรักษาและขนถ่ายนํ้ามันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการเก็บรักษานํ้ามันเชื้อเพลิง

(2) การเก็บรักษาวัตถุไวไฟและวัตถุระเบิดชนิดของเหลวไว้ในอาคาร
       ก.ต้องเก็บไว้ในห้องที่มีประตูชนิดที่ปิด-เปิด ได้เองประตูและผนังห้องต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟและสามารถกักของเหลวมิให้ไหลออกภายนอกได้ พื้นต้องมีความลาดเอียงหรือเป็นรางระบายของเหลวที่ซึ่งออกไปยังที่ปลอดภัยได้
       ข.การเก็บวัตถุไวไฟและวัตถุระเบิดชนิดของเหลวในห้องเก็บภายในอาคารก็ต้องมีปริมาณ ขนาดความทนไฟและพื้นที่ของห้องเป็นอัตราส่วนต่อปริมาณวัตถุดังกล่าวดังต่อไปนี้
            1.ห้องที่มีขนาดตั้งแต่สิบสี่ตารางเมตรแต่ไม่ถึงสี่สิบเจ็ดตารางเมตรซึ่งไม่มีการจัดระบบป้องกันอัคคีภัยไว้ห้องนั้นต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงจึงสามารถเก็บวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟชนิดของเหลวได้ไม่เกินแปดสิบสี่ลิตรต่อหนึ่งตารางเมตร
            2.ห้องที่มีขนาดตั้งแต่สิบสี่ตารางเมตรแต่ไม่ถึงสี่สิบเจ็ดตารางเมตรและมีการจัดระบบป้องกันอัคคีภัยไว้ห้องนั้นต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงจึงสามารถเก็บวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟชนิดของเหลวได้ไม่เกินสองร้อยสี่ลิตรต่อหนึ่งตารางเมตร
            3.ห้องที่มีขนาดสี่สิบเจ็ดตารางเมตรซึ่งไม่มีการจัดระบบป้องกันอัคคีภัยไว้ห้องนั้นต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงจึงสามารถเก็บวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟชนิดของเหลวได้ไม่เกินหนึ่งร้อยหกสิบสามลิตรต่อหนึ่งตารางเมตร
           4.ห้องที่มีขนาดสี่สิบเจ็ดตารางเมตร และมีการจัดระบบป้องกันอัคคีภัยไว้สามารถเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวได้ไม่เกินสี่ร้อยแปดลิตรต่อตารางเมตร

        ค.ภายในห้องเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวต้องจัดให้มีทางเดินสู่ประตูทางออกกว้างอย่างน้อยหนึ่งเมตร และห้ามมิให้มีสิ่งกีดขวางทาง
       ง.วัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดของเหลวที่มีปริมาณมากกว่าที่อนุญาตให้เก็บในห้องเก็บของภายในอาคาร ต้องนําไปเก็บไว้นอกอาคารโดยให้ปฏิบัติตามข้อ 24 (3)

(3) การเก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดเหลวไว้นอกอาคาร นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้
        ก. ปริมาณวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวที่บรรจุในภาชนะแต่ละใบจะต้องไม่เกินสองร้อยสี่สิบลิตร
       ข. ในกรณีที่ภาชนะที่ใช้บรรจุเป็นชนิดยกเคลื่อนย้ายได้และสามารถบรรจุวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวได้เกินสองร้อยสี่สิบลิตรต้องมีช่องระบายอากาศฉุกเฉินและมีเครื่องดูดถ่ายวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวจากข้างบนของภาชนะหรือใช้ท่อปิดที่มีก๊อกปิดได้เองจะใช้ความดันจากภาชนะหรืออุปกรณ์อื่นในการถ่ายเทไม่ได้
        ค.กองวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดที่มีปริมาณรวมกันไม่เกินสี่พันสี่ร้อยลิตรแต่ละกองต้องห่างกันไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรห้าสิบเซนติเมตรกรณีที่มีปริมาณเกินสี่พันสี่ร้อยลิตรแต่ไม่เกินแปดพันแปดร้อยลิตรแต่ละกองต้องห่างกันไม่น้อยกว่าห้าเมตร
        ง. ห้ามกองวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดที่มีปริมาณรวมกันเกินแปดพันแปดร้อยลิตร
        จ. ต้องมีช่องทางเดินจากจุดติดตั้งเครื่องดับเพลิงไปสู่กองวัตถุซึ่งมีความกว้างไม่น้อยกว่าสี่เมตรและไม่มีสิ่งกีดขวางทาง
       ฉ.บริเวณพื้นที่ใช้วางภาชนะบรรจุวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวต้องมีลักษณะลาดเอียงหรือมีรางนํ้า หรือเขื่อนกั้นที่สามารถระบายสิ่งที่รั่วไหลหรือระบายนํ้าบนดิน หรือนํ้าฝนได้ปลายทางที่ระบายออกต้องเป็นที่ปลอดภัยจากอัคคีภัย
        ช.บริเวณที่ใช้เก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดต้องไม่ปล่อยให้มีหญ้าขึ้นรกมีขยะ หรือวัตถุติดไฟประเภทอื่นๆ ที่อาจทําให้เกิดอัคคีภัยได้

(4) การป้องกันอัคคีภัยบริเวณที่เก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลว
       ก. นายจ้างต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือชนิดไม่ตํ่ากว่า 20-บีไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องบริเวณหน้าห้องที่ใช้เก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลว โดยมีระยะห่างจากประตูห้องนั้นไม่น้อยกว่าสามเมตร
       ข. ในกรณีที่เก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวไว้ภายนอกอาคารต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบมือถือชนิด 20-บี ไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องโดยมีระยะห่างจากบริเวณที่เก็บวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวไม่น้อยกว่าแปดเมตรและไม่เกินยี่สิบสี่เมตร

(5) การป้องกันอันตรายจากการขนถ่ายวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลว
       ก.บริเวณที่มีการถ่ายเทวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวที่มีปริมาณตั้งแต่ยี่สิบลิตรขึ้นไป ต้องห่างจากบริเวณปฏิบัติงานอื่นๆไม่น้อยกว่าแปดเมตรหรือมีผนังปิดกั้นที่สร้างด้วยวัตถุทนไฟอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงและต้องจัดให้มีการระบายอากาศเพื่อมิให้มีความเข้มข้นของไอระเหยที่สามารถติดไฟได้
       ข. การขนถ่ายจากภาชนะหรือถังที่อยู่ภายในหรือนอกอาคารชนิดติดตรึงกับที่ต้องใช้ระบบท่อปิดในกรณีที่ใช้ภาชนะขนาดเล็กชนิดที่เคลื่อนย้ายได้อาจเลือกใช้วิธีกาลักนํ้าหรือปั๊มที่มีวาล์วซึ่งสามารถปิดได้เองในการขนถ่ายห้ามใช้วิธีอัดอากาศ
        ค.ต้องป้องกันมิให้มีการรั่วไหลหรือหกของวัตถุไฟไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวถ้ามีการรั่วไหลหรือหกต้องขจัดโดยการดูด ซับ หรือระบายให้ออกในที่ปลอดภัย
       ง. วัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวที่นํ าไปใช้ในบริเวณที่ปฏิบัติงานต้องห่างจากแหล่งกําเนิดความร้อนไม่น้อยกว่าสิบหกเมตรเว้นแต่จะมีการป้องกันไว้อย่างปลอดภัย
        จ. วัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดชนิดของเหลวเมื่อยังไม่ต้องการใช้งานต้องเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดอย่างมิดชิด
       ฉ. ต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงชนิดไม่ตํ่ ากว่า 20-บีไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่องไว้บนยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งหรือขนถ่ายวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด

ข้อ 25 การเก็บถังก๊าซชนิดเคลื่อนย้ายได้ ชนิดของเหลว ให้นายจ้างปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่เก็บถังก๊าซไว้ภายนอกอาคารต้องเก็บไว้ในที่เปิดโล่ง ที่มีการป้องกันความร้อนมิให้มีอุณหภูมิสูงกว่าที่ผู้ผลิตกําหนดไว้

(2) ถ้าเก็บถังก๊าซไว้ภายในอาคารต้องแยกเก็บไว้ในห้องที่มีผนังทนไฟ

(3) ห้ามเก็บถังก๊าซไว้ใกล้วัตถุที่ลุกไหม้ได้ง่าย

ข้อ 26 การป้องกันอันตรายจากถ่านหิน เซลลูลอยด์ หรือของแข็งที่ติดไฟง่ายให้นายจ้างปฏิบัติดังนี้

(1) การเก็บถ่านหินในที่โล่งแจ้งต้องพรมนํ้าให้เปียกชื้นตลอดเวลาและอัดทับให้แน่นเพื่อป้องกันการลุกไหม้เอง และห้ามกองสูงเกินสามเมตร

(2) ถ่านหินที่บดแล้วหรือชนิดผงที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหกสิบห้าองศาเซลเซียส ต้องทําให้เย็นก่อนนําไปเก็บใส่ไว้ในถังหรือภาชนะทนไฟ

(3)ถังหรือภาชนะที่ใช้เก็บถ่านหินหรือผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่ายต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟที่มีฝาปิดมิดชิดและต้องเก็บไว้ให้ห่างไกลจากแหล่งความร้อน

(4)การเก็บเซลลูลอยด์หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่ายในไซโล ถัง หรือภาชนะต้องทําการป้องกันการผสมกับอากาศที่จะลุกไหม้ได้ เช่น การระบายอากาศและการป้องกันการลุกไหม้จากแหล่งความร้อน
ข้อ 27การเก็บวัตถุที่ติดไฟได้ง่าย เช่น ไม้ กระดาษ ขนสัตว์ ฟางหรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันในกรณีที่มีจํานวนมากให้นายจ้างแยกเก็บไว้ในอาคารต่างหาก หรือเก็บในห้องทนไฟหลังคาหรือฝาห้องต้องไม่ทําด้วยแก้วหรือวัตถุโปร่งใสที่แสงแดดส่องตรงเข้าไปได้ ถ้ามีจํานวนน้อยให้เก็บไว้ในภาชนะทนไฟ หรือถังโลหะที่มีฝาปิด

ข้อ 28ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ หน้ากาก เสื้อผ้ารองเท้า ที่สามารถป้องกันวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดชนิดนั้นได้


หมวด 6
การกํ าจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่าย



ข้อ 29 ให้นายจ้างปฏิบัติเกี่ยวกับของเสียที่ติดไฟง่ายตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
(1) ต้องเก็บรวบรวมของเสียที่ติดไฟได้ง่ายไว้ในภาชนะปิดที่เป็นโลหะ

(2)จัดให้มีการทําความสะอาดมิให้มีการสะสมหรือตกค้างของของเสียที่ติดไฟได้ง่ายไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งครั้งถ้าเป็นงานกะไม่น้อยกว่ากะละหนึ่งครั้งเว้นแต่วัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดที่ลุกไหม้ได้เองต้องจัดให้มีการทําความสะอาดทันที

(3)ให้นําของเสียที่เก็บรวบรวมตาม (1)ออกไปจากบริเวณที่ลูกจ้างทํางานไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งครั้งในกรณีที่ยังไม่ได้กําจัดทันทีให้นําไปเก็บไว้ในห้องหรืออาคารทนไฟและต้องนําไปกําจัดให้หมดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งโดยวิธีการที่ปลอดภัยเช่น การเผา การฝัง หรือการใช้สารเคมีเพื่อให้ของเสียนั้นสลายตัว

ข้อ 30 การกําจัดของเสียโดยการเผาให้นายจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(1) ให้เผาในเตาที่ออกแบบสําหรับการเผาโดยเฉพาะ ถ้าเผาในที่โล่งแจ้ง ต้องห่างจากที่ลูกจ้างทํางานในระยะที่ปลอดภัยและอยู่ใต้ลม

(2) ลูกจ้างที่ทําหน้าที่เผาต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หน้ากาก ถุงมือ เป็นต้น

(3)ให้นายจ้างจัดเก็บเถ้าถ่านที่เหลือจากการเผาของเสียนั้นไว้ในภาชนะ ห้องสถานที่ปลอดภัย หรือเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือนําไปฝังในสถานที่ปลอดภัย


หมวด 7
การป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า


ข้อ 31 ให้นายจ้างจัดให้มีสายล่อฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าสําหรับอาคาร สิ่งก่อสร้างหรือภาชนะ ดังต่อไปนี้

(1) อาคารที่มีวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด
(2) อาคารที่มิได้อยู่ในรัศมีการป้องกันสายล่อฟ้าจากอาคารอื่น
(3)สิ่งก่อสร้างหรือภาชนะที่มีส่วนสูง เช่น ปล่องไฟ หอคอย เสาธง ถังเก็บนํ้าหรือสารเคมีการติดตั้งสายล่อฟ้าให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า

ข้อ 32ให้นายจ้างจัดให้มีการป้องกันไม่ให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าแรงสูง สายโทรเลข เสาวิทยุสื่อสารหรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติคล้ายกันสู่สายล่อฟ้าโดยติดตั้งสายล่อฟ้าให้มีระยะห่างที่ปลอดภัยหรือปิดกั้นมิให้มีการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า


หมวด 8
ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และการฝึกซ้อมดับเพลิง


ข้อ 33 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบการโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(1)สถานประกอบการตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ชนิดเปล่งเสียงให้ลูกจ้างที่ทํางานภายในอาคารได้ยินอย่างทั่วถึงโดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยเดซิเบล (เอ)วัดห่างจากจุดกําเนิดของเสียงหนึ่งเมตรโดยรอบ

(2)อุปกรณ์ที่ทําให้เครื่องเปล่งเสียงสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทํางานต้องอยู่ในที่เด่นชัดเข้าไปถึงง่ายหรืออยู่ในเส้นทางหนีไฟโดยต้องติดตั้งทุกชั้นและมีระยะห่างจากจุดที่ลูกจ้างทํางานไม่เกินสามสิบเมตร

(3)สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องมีเสียงที่แตกต่างไปจากเสียงที่ใช้ในสถานประกอบการทั่วไป และห้ามใช้เสียงดังกล่าวในกรณีอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

(4) ต้องจัดให้มีการทดสอบประสิทธิภาพในการทํางานของระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

(5)สําหรับกิจการโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่ไม่ต้องการให้ใช้เสียงจะต้องจัดให้มีอุปกรณ์ หรือมาตรการอื่นใด เช่น สัญญาณไฟรหัสที่สามารถแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ 34 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิง ดังต่อไปนี้

(1)สถานประกอบการที่มีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างปานกลางหรืออย่างร้ายแรงต้องจัดให้มีกลุ่มพนักงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยและมีผู้อํานวยการป้องกันและระงับอัคคีภัยเป็นผู้อํานวยการในการดําเนินงานทั้งระบบประจําสถานประกอบการตลอดเวลา

(2)ต้องจัดให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ต่างๆในการดับเพลิง การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน

ข้อ 35 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมอพยพลูกจ้างออกจากอาคารไปตามเส้นทางหนีไฟตามที่กําหนดในข้อ 13

ข้อ 36ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมหนีไฟอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งในกรณีที่นายจ้างจัดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงหรือฝึกซ้อมหนีไฟเองให้ส่งแผนและรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกซ้อมต่ออธิบดีเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนการฝึกซ้อมไม่น้อยกว่าสามสิบวันถ้านายจ้างไม่สามารถฝึกซ้อมดับเพลิงหรือหนีไฟได้เองให้ขอความร่วมมือหน่วยงานดับเพลิงท้องถิ่นหรือหน่วยงานที่ทางราชการรับรองว่าช่วยดําเนินการฝึกซ้อม ให้นายจ้างจัดทํารายงานผลการฝึกซ้อมตามแบบที่อธิบดีกําหนดยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในสามสิบวันนับแต่วันเสร็จสิ้นการฝึกซ้อม


หมวด 9
เบ็ดเตล็ด


ข้อ 37 ลูกจ้างต้องใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดให้ตามประกาศนี้

ข้อ 38 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามประกาศนี้

ข้อ 39เมื่อปรากฏว่านายจ้างหรือลูกจ้างฝ่าฝืนประกาศนี้พนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คําเตือนเพื่อให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในเวลาที่กําหนดไว้ในคํ าเตือนเสียก่อนก็ได้

ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2534

เจริญจิตต์ ณ สงขลา
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน

ข้อมูลจาก สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า