กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

อาศัยอํานาจตามความในข้อ 2 (7) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พุทธศักราช 2515
กระทรวงมหาดไทยจึงกําหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสําหรับลูกจ้างไว้ ดังต่อไปนี้

ความทั่วไป


ข้อ 1 ในประกาศนี้ “ฉนวน” หมายความว่าฉนวนไฟฟ้า คือ วัสดุที่มีคุณสมบัติในการกั้นหรือขัดขวางต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าหรือวัสดุที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ง่าย เช่น ยางไฟเบอร์ พลาสติกฯลฯ
“แรงดัน” หมายความว่าแรงดันไฟฟ้า คือ ค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่างสายกับสายหรือสายกับดินหรือระหว่างจุดหนึ่งกับจุดอื่นๆ อีกแห่งหนึ่งโดยมีหน่วยวัดค่าความต่างศักย์เป็นโวลท์
“กระแส” หมายความว่า กระแสไฟฟ้า คือ อัตราการไหลของอิเล็กตรอนในวงจรไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยมีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์
“เครื่องกําเนิดไฟฟ้า” หมายความว่า เครื่องจักรที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
“มอเตอร์”หมายความว่า เครื่องเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกลใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร หรือเครื่องมือกลอื่นๆ ทำให้เกิดการหมุนการฉุด การดึงเพื่อให้เกิดพลังงาน
“อุปกรณ์ไฟฟ้า” หมายความว่า เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้นกําลัง หรือเป็นส่วนประกอบ หรือใช้เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้า
“ขดลวดจํากัดกระแส (Reactor)” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับจํากัดกระแสไฟฟ้า
“เครื่องปรับแรงดัน (Regulator)” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับปรับแรงดันไฟฟ้า
“หม้อแปลง” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้นหรือตํ่าลงโดยการ  เหนี่ยวนําของแม่เหล็ก
“หม้อแปลงเครื่องวัด (Instrument Transformer)” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้สําหรับแปลงกระแส หรือแรงดัน เพื่อใช้กับเครื่องมือและอุปกรณ์ควบคุมเครื่องป้องกันระบบไฟฟ้า
“สวิตช์หรือเครื่องตัดกระแส”หมายความว่า เครื่องปิดเปิดวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ทําหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าอาจจะทํางานโดยอาศัยอํานาจแม่เหล็กหรือทํางานโดยใช้มือสับโยกก็ได้
“แผงสวิทช์” หมายความว่า แผงที่รวมของสวิทช์ต่างๆ มีหน้าที่รับไฟฟ้าจากต้นกําเนิด และแจกจ่ายไปยังสายวงจรต่าง ๆ
“ฟิวส์” หมายความว่า เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า โดยอาศัยการหลอมละลายของโลหะ
“สายเคเบิล”หมายความว่า สายตัวนําหุ้มด้วยฉนวนสายเดียว หรือหลายสายรวมกันและอาจจะมีสิ่งอื่นห่อหุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อความแข็งแรงทนทานด้วยก็ได้
“สายอ่อน” หมายความว่า สายเคเบิลอ่อน ที่ตัวนํามีพื้นที่หน้าตัดไม่เกิน 4 ตารางมิลลิเมตร
“สายดิน” หมายความว่าตัวนําที่ต่อจากโครงโลหะของอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสิ่งที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะนํากระแสไฟฟ้าที่ไม่ต้องการให้ไหลลงสู่ดิน
“สายศูนย์ (Neutral)”หมายความว่า สายใดสายหนึ่งในระบบไฟฟ้าสามสายหรือสี่สายซึ่งแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายนั้นไปยังสายอย่างน้อยอีก 2 สายต้องเท่ากันและสายนั้นต้องต่อลงดินสําหรับระบบไฟฟ้า 2 สายถ้าสายใดสายหนึ่งไม่ได้ต่อมาจากสายศูนย์ของวงจรอื่นแล้วให้กําหนดเอาสายนั้นเป็นสายศูนย์ได้ และสายนั้นต้องต่อลงดินด้วย
“สายล่อฟ้า”หมายความว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากฟ้าผ่า ซึ่งจะต้องประกอบด้วยหลักล่อฟ้า สายนําประจุตัวจับยึดสายนําประจุและหลักดิน
“สายนําประจุ (Conductor)” หมายความว่า สายตัวนําที่ติดตั้งไว้เพื่อนําประจุไฟฟ้าระหว่างหลักล่อฟ้ากับดิน
“หลักล่อฟ้า (Air Terminal)”หมายความว่า หลักโลหะติดตั้งที่ส่วนบนของโครงอาคารหรือสิ่งก่อสร้างและมีโลหะปลายแหลมเพื่อคายประจุไฟฟ้าหรือหลักอย่างอื่นที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกัน
“หลักดิน (Ground Rod)” หมายความว่า แท่งโลหะซึ่งปักลงไปในดินเพื่อจะนําประจุหรือกระแสไฟฟ้าให้ไหลลงสู่ดิน
“นายจ้าง”หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทํางานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนนายจ้างในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลหมายความว่าผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคลนั้น และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทํางานแทนผู้มีอํานาจกระทําการแทนนิติบุคคล
“ลูกจ้าง”หมายความว่าผู้ซึ่งตกลงทํางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นผู้รับค่าจ้างด้วยตนเองหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงลูกจ้างประจําและลูกจ้างชั่วคราวแต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับงานบ้าน
“ลูกจ้างประจํา” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้เป็นการประจํา
“ลูกจ้างชั่วคราว” หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้ไม่เป็นการประจํา เพื่อทํางานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาล


หมวด 1
ข้อกําหนดทั่วไป


ข้อ 2นายจ้างต้องจัดทําแผนผังวงจรไฟฟ้าทั้งหมดภายในสถานที่ประกอบการและได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าประจําท้องถิ่นไว้ให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลาหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากเดิมต้องดําเนินการแก้ไขแผนผังนั้นให้ถูกต้อง ข้อ 3นายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าและสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้าถ้าหากพบว่าชํารุดหรือมีกระแสไฟฟ้ารั่ว ให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที
ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายติดตั้งในบริเวณที่จะเกิดอันตรายจากไฟฟ้าให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ 5ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างเข้าใกล้หรือนําสิ่งที่เป็นตัวนําซึ่งไม่มีที่ถือเป็นฉนวนอย่างดีหุ้มอยู่เข้าใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าน้อยกว่าระยะห่างที่กําหนดไว้ในตารางที่ 1 ยกเว้น
(1) ลูกจ้างผู้นั้นสวมใส่เครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าซึ่งเป็นฉนวนที่ใช้ต้านทานแรงดันได้สูงพอกับส่วนที่เป็นไฟฟ้านั้น หรือ(2) ได้ปิดหรือนําฉนวนมาหุ้มสิ่งที่มีไฟฟ้า โดยฉนวนที่ใช้หุ้มนั้นป้องกันแรงดันไฟฟ้านั้นๆ ได้ หรือ
(3)ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานกับสิ่งที่มีไฟฟ้าด้วยเทคนิคการปฏิบัติงานด้วยมือเปล่าและอยู่ภายใต้การควบคุมจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (แขนงไฟฟ้ากําลัง) จาก ก.ว.

ตารางที่ 1
ระยะห่างตํ่าสุดในการปฏิบัติงานและการใช้ฮอทสติก (Hot Stick) สําหรับไฟฟ้ากระแสสลับ

ระดับแรงดันไฟฟ้าจากสายถึงสาย
(กิโลโวลท์)

ระยะห่าง
(เมตร)

2.1 ถึง 15
15.1 ถึง 35
35.1 ถึง 46
46.1 ถึง 72.5
72.6 ถึง 121
138 ถึง 145
161 ถึง 169
230 ถึง 242
345 ถึง 362
500 ถึง 552
700 ถึง 765

0.65
0.75
0.80
0.95
1.05
1.10
1.15
1.55
2.15
3.35
4.60

ข้อ 6ในกรณีที่มีการปฏิบัติงานตรวจสอบ ซ่อมแซม ติดตั้งไฟฟ้านายจ้างต้องผูกป้ายห้ามสับสวิทช์พื้นสีแดงไว้ที่สวิทช์หรือใช้กุญแจป้องกันการสับสวิทช์ไว้
ข้อ 7 ในกรณีใช้ลมที่มีกําลังดันสูงทําความสะอาดอุปกรณ์ที่มีไฟฟ้าอยู่ ต้องใช้ท่อและหัวฉีดที่เป็นฉนวน
ข้อ 8 ไฟฉายที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า ต้องเป็นไฟฉายชนิดที่กระบอกไฟฉายมีฉนวนหุ้มตลอด
ข้อ 9ห้ามมิให้ลูกจ้างสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่เปียกนํ้าหรือเป็นสื่อไฟฟ้าปฏิบัติงานขณะมีไฟฟ้า (Hot Line) ยกเว้นเมื่อแรงดันไฟฟ้าตํ่ากว่า 50 โวลท์หรือสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือใช้เครื่องมือที่เป็นฉนวน
ข้อ 10 เทปสําหรับวัดที่นายจ้างจัดให้ลูกจ้างใช้ปฏิบัติงานใกล้กับสิ่งที่มีไฟฟ้า ต้องเป็นเทปชนิดที่ไม่เป็นโลหะ
ข้อ 11มาตรฐานและข้อกําหนดที่กําหนดขึ้นในหมวด 2 ถึงหมวด 4มีผลบังคับใช้ภายในบริเวณสถานที่ประกอบการที่ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นกําลังและมีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 600 โวลท์


หมวด 2
สายไฟฟ้า


ข้อ 12สายไฟฟ้าชนิดเปลือย ต้องเป็นสายทองแดงหรือสายอลูมิเนียมและมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ มอก.64-2517 และมอก.85-2517 ข้อ 13สายไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารจะต้องเป็นสายที่มีฉนวนหุ้มและมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ มอก.11-2518 ห้ามใช้สายเปลือย ยกเว้นสายส่งกําลังสําหรับเครน (Crane)
ข้อ 14 สายไฟฟ้าที่เดินสายใต้ดิน ต้องใช้สายไฟฟ้าชนิดที่มีฉนวนหุ้มสองชั้นและมีเปลือกนอกกันความชื้นได้ไม่ผุกร่อนง่าย
ข้อ 15 สายไฟฟ้าชนิดมีฉนวนหุ้มชั้นเดียว ให้ใช้เดินเฉพาะบนลูกถ้วย บนตุ้มพุกประกับ หรือร้อยในท่อ เท่านั้น
ข้อ 16ในสายไฟฟ้าชนิดอ่อนที่มีฉนวนหุ้มเป็นเทอร์โมพลาสติกหรือวัตถุอย่างอื่นที่มีคุณสมบัติไม่น้อยกว่าเทอร์โมพลาสติกให้ใช้กับอุปกรณ์ที่โยกย้ายเคลื่อนที่ได้และโคมแขวน
ข้อ 17 ในสายเมนภายในและสายที่เดินสําหรับเต้าเสียบ จะต้องมีพื้นที่หน้าตัดของตัวนําไม่น้อยกว่า 2 ตารางมิลลิเมตร
ข้อ 18 ในสายไฟฟ้าที่ใช้ในสถานที่ประกอบการ ต้องใช้สายไฟฟ้าขนาดให้เหมาะกับกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่กําหนดไว้ตามตารางที่ 2, 3 และ 4
ข้อ 19การเดินสายที่กําหนดในตารางที่ 2 เฉพาะการเดินสายในท่อ ในผนังในรางเมื่อเดินสายมากกว่า 3 เส้น จะต้องลดกระแสภายในสายลง โดยใช้ตัวคูณ ตามตาราง 3

ตารางที่ 2
จํานวนกระแสสูงสุดที่ยอมให้ใช้กับสายไฟฟ้าชนิดต่างๆ ที่เดินสายในบริเวณที่อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส

ขนาดพื้นที่หน้าตัด
(ตารางมิลลิเมตร)

กระแสสูงสุดสําหรับสายหุ้ม
เดินในอากาศ
(แอมแปร์)

กระแสสูงสุดสําหรับสายหุ้มเดินในท่อ ในเพดาน ในผนัง
ในราง หรือสายหลายแกน และใช้สายไม่เกิน 3 เส้น
(แอมแปร์)

สายที่ใช้งานได้ อุณหภูมิสูงสุด……….องศาเซลเซียส

สายทองแดง

สายอลูมิเนียม

60° ซ

75° ซ

60° ซ

75° ซ

0.5
1
1.5
2.5

-
-
-
-

7
10
13
18

7
10
13
19

4
6
8
14

4
6
8
15

4
6
10
16

-
-
16
25

24
35
53
72

27
4
66
94

19
27
37
49

21
30
45
63

25
35
50
70

35
50
70
95

96
120
152
191

122
152
194
241

63
78
94
122

84
104
129
159

95
120
150
185

120
150
185
240

233
270
300
-

295
304
356
430

147
170
192
-

190
220
228
260

240
300
400
500

300
400
500
625

-
-
-
-

478
552
652
748

-
-
-
-

292
336
392
436

ข้อ 20การเดินสายในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสกระแสสูงสุดที่กําหนดในตารางที่ 2 จะต้องลดกระแสภายในสายลงโดยใช้ตัวคูณลดกระแสตามตาราง 4

ตารางที่ 3
ค่าตัวคูณลดกระแสเกี่ยวกับจํานวนสาย

จํานวนสายเป็นเส้นหรือแกน

ตัวคูณ

4 ถึง 6
7 ถึง 24
25 ถึง 42
43 และมากกว่า

0.80
0.70
0.60
0.50

ตารางที่ 4
ค่าตัวคูณลดกระแสเกี่ยวกับอุณหภูมิ

อุณหภูมิบริเวณเดินสาย
(องศาเซลเซียส)

ตัวคูณสําหรับสายซึ่งทนอุณหภูมิใช้งานสูงสุด

60 องศาเซลเซียส

75 องศาเซลเซียส

45
50
55
60
70
75

0.866
0.707
0.5
-
-
-

0.932
0.850
0.761
0.659
0.398
-

ข้อ 21 สายไฟฟ้าที่ใช้เดินในสถานที่ประกอบการที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสจะต้องใช้สายที่ทนอุณหภูมิใช้งานสูงสุด ดังนี้
(1) บริเวณเดินสายอุณหภูมิไม่เกิน 50 องศาเซลเซียส ให้ใช้สายที่ทนอุณหภูมิใช้งานสูงสุดไม่ตํ่ากว่า 60 องศาเซลเซียส
(2) บริเวณเดินสายอุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส ให้ใช้สายที่ทนอุณหภูมิใช้งานสูงสุดไม่ตํ่ากว่า 75 องศาเซลเซียส
(3) บริเวณเดินสายอุณหภูมิไม่เกิน 75 องศาเซลเซียส ให้ใช้สายที่ทนอุณหภูมิใช้งานสูงสุดไม่ตํ่ากว่า 85 องศาเซลเซียส
ข้อ 22 สายไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องทําความร้อนชนิดต่างๆ ต้องเป็นสายที่มีฉนวนหุ้ม ชนิดทนความร้อนได้


หมวด 3
การเดินสายและเครื่องประกอบการเดินสาย


ข้อ 23การเดินสายและเครื่องประกอบที่กําหนดในหมวดนี้ไม่ให้ใช้ในสถานที่ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายเนื่องจากวัตถุไวไฟหรือในสถานที่ที่อาจเกิดอันตรายจากการระเบิดได้ง่าย ข้อ 24 การเดินสายภายในอาคาร
(1)การเดินสายเกาะไปตามผนังโดยใช้พุกประกับตุ้ม ลูกถ้วย หรือเข็มขัดรัดสายพุกประกับ ตุ้มหรือลูกถ้วยต้องเป็นชนิดที่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าที่ใช้วงจรนั้นได้และให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        
ก. การเดินสายบนพุกประกับ
            
1. สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องมีพื้นที่หน้าตัดของตัวนําไม่เกิน 6 ตารางมิลลิเมตร
            2. ระยะระหว่างช่วงพุกประกับไม่เกิน 1 เมตร 50 เซนติเมตร
            3. ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 2 เซนติเมตร 5 มิลลิเมตร
            4. ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ตํ่ากว่า 5 มิลลิเมตร
        ข. การเดินสายบนตุ้ม
            
1. สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องมีพื้นที่หน้าตัดของตัวนําไม่เกิน 70 ตารางมิลลิเมตร
            2. ระยะระหว่างตุ้มไม่เกิน 2 เมตร 50 เซนติเมตร
            3. ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 10 เซนติเมตร
            4. ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ตํ่ากว่า 2 เซ็นติเมตร 5 มิลลิเมตร
        
ค. การเดินสายบนลูกถ้วย
            1. ระยะระหว่างช่วงลูกถ้วยไม่เกิน 5 เมตร
            2. ระยะระหว่างสายไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่า 15 เซนติเมตร
            3. ระยะระหว่างสายไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้างไม่ตํ่ากว่า 5 เซนติเมตร
        
ง.การเดินสายโดยใช้เข็มขัดรัดสายต้องใช้สายไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้มสองชั้นและยึดด้วยเข็มขัดรัดสายให้มั่นคงโดยมีระยะระหว่างเข็มขัดรัดสายไม่เกิน 20 เซนติเมตร
(2) การเดินสายฝังในผนังตึก ต้องใช้สายไฟฟ้าชนิดฉนวนหุ้มสองชั้นที่มีเปลือกนอกกันความชื้น และต้องเป็นแบบใช้ฝังในผนัง
(3) การเดินสายในท่อโลหะอย่างหนา (Rigid Metal Conduit) ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        ก. ให้ใช้ท่อและส่วนประกอบต้องเป็นชนิดใช้สําหรับเดินสายไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งมีผิวภายในเรียบและผลิตจากโลหะที่ไม่ผุกร่อนได้ง่าย หรือมีการป้องกันการผุกร่อนที่เหมาะสม
        ข. ห้ามใช้ท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1.27 เซนติเมตร
        
ค.การวางท่อ ฝังในดิน ในคอนกรีต ในที่เปียก หรือในที่มีเถ้าถ่าน ต้องใช้ท่อกล่อง ตู้ ข้อต่อ หัวต่อ เครื่องจับยึด นอต สกรู แหวน และส่วนประกอบต่างๆชนิดที่มีการป้องกันการผุกร่อนอย่างเหมาะสมหรือทําด้วยวัสดุที่ไม่ผุกร่อนได้ง่ายในสภาพเช่นนั้น และกันนํ้าได้
        
ง. ปลายท่อทุกแห่งที่มีการตัดและทําเกลียว ต้องลบคมภายใน
        
จ. ทุกแห่งที่มี สวิตซ์ เต้าเสียบ จุดต่อสายออก จุดดึงสายร้อยท่อ และการต่อสาย ต้องใช้กล่องที่มีขนาดและชนิดที่เหมาะสม
        
ฉ.ท่อ ข้อต่อ หัวต่อ กล่อง ตู้ และส่วนประกอบต่างๆต้องต่อติดกันโดยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ตลอดและยึดอยู่กับที่อย่างมั่นคงพร้อมทั้งมีการต่อลงดินตามหมวด 6
        
ช.สายไฟฟ้าภายในท่อต้องเป็นเส้นเดียวตลอดไม่มีรอยต่อ การต่อสายต้องทําในตู้กล่องต่อสาย กล่องต่อสวิตซ์ กล่องเต้าเสียบ หรือในรางต่อสายที่เหมาะสม
(4) การเดินสายในท่อโลหะอย่างบาง(Electrical Metallic Tubing)ห้ามเดินท่อโลหะอย่างบางในบริเวณที่ท่ออาจได้รับการกระทบกระแทกได้ เช่นบริเวณขนถ่ายสินค้า บริเวณที่ยานพาหนะผ่านข้อต่อและหัวต่อชนิดที่ไม่มีเกลียว เมื่อสวมกับท่อต้องกระชับแน่นและห้ามใช้ท่อขนาดเล็กกว่า 1.27 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรนอกจากนี้แล้ว ให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การเดินสายในท่อโลหะอย่างหนาตาม (3)
(5) การเดินสายในท่อโลหะชนิดอ่อนตัว (Flexible Metal Conduit) ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        
ก.ให้ใช้ท่อและส่วนประกอบชนิดที่ใช้สําหรับเดินสายไฟฟ้าโดยเฉพาะซึ่งมีผิวภายในเรียบ และผลิตจากโลหะที่ไม่ผุกร่อนได้ง่ายหรือมีการป้องกันการผุกร่อนที่เหมาะสม
        
ข.ห้ามใช้ท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1.27 เซนติเมตรเว้นแต่ท่อที่ใช้สําหรับร้อยสายอ่อนที่มีพื้นที่หน้าตัดของตัวนําไม่เกิน 6ตารางมิลลิเมตร ยาวไม่เกิน 2 เมตรในกรณีที่ใช้ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือท่อที่เป็นส่วนประกอบของดวงโคมอาจใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ไม่เล็กกว่า 0.95 เซนติเมตรได้
        
ค.ห้ามเดินท่อในบริเวณที่ท่ออาจถูกกระทบกระแทกได้ง่าย ในดิน หรือที่พื้นหรือในบริเวณที่เปียกชื้น หรือภายในห้องแบตเตอรี่หรือห้องที่มีไอของกรดหรือด่าง
(6) การเดินสายในท่อโลหะชนิดอ่อนตัวได้แบบกันนํ้า (Liquidtight Flexible Metal Conduit) ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        
ก.ให้ใช้ท่อและส่วนประกอบ ชนิดที่ใช้สําหรับเดินสายไฟฟ้าโดยเฉพาะมีลักษณะเช่นเดียวกับท่อโลหะชนิดอ่อนตัวได้แต่มีเปลือกนอกเป็นอโลหะกันนํ้าและทนแสงอาทิตย์ได้
        
ข.ห้ามใช้ท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1.27 เซนติเมตร หรือใหญ่กว่า10 เซนติเมตรเว้นแต่ท่อที่ใช้สําหรับร้อยสายอ่อนที่มีพื้นที่หน้าตัดของตัวนําไม่เกิน 6ตารางมิลลิเมตร ยาวไม่เกิน 2 เมตรในกรณีที่ใช้ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือท่อที่เป็นส่วนประกอบของดวงโคมอาจใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า 0.95 เซนติเมตรได้
        
ค.ห้ามเดินท่อในบริเวณที่ท่ออาจถูกกระทบกระแทกได้ง่ายในที่ซึ่งมีอุณหภูมิของบริเวณเดินท่อ หรืออุณหภูมิของสายในท่อหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินอุณหภูมิใช้งานสูงสุดของสายหรือท่อและในดินหรือที่พื้น
(7) การเดินสายในท่อที่ไม่ใช่โลหะ(Rigid Non-metallic Conduit) จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        
ก. ให้ใช้ท่อที่ทําด้วยวัสดุชนิดแข็ง ติดไฟได้ยาก และไม่ผุกร่อน หรือเสื่อมสภาพได้ง่าย
        
ข. ห้ามใช้ท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 1.27 เซนติเมตร นอกจากจะใช้ร้อยสายเพื่อฝังในคอนกรีต
        
ค. ห้ามเดินท่อในบริเวณที่ท่ออาจได้รับการกระทบกระแทกได้
        
ง.ห้ามเดินท่อประเภทพลาสติกในที่ซึ่งถูกแสงอาทิตย์นอกจากท่อนั้นจะทําด้วยพลาสติกที่สามารถทนต่อแสงอาทิตย์ได้โดยไม่เสื่อมคุณภาพ หรือมีการป้องกันที่เหมาะสม
        
จ. ห้ามเดินท่อพลาสติกในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกินกว่าอุณหภูมิใช้งานของท่อนั้น
        
ฉ. ข้อต่อและหัวต่อจะเป็นชนิดเกลียวหรือชนิดสวมก็ได้ ถ้าเป็นชนิดสวมจะต้องทานํ้ายายึดหัวต่อให้แน่น
        
ช.การต่อท่อที่ไม่ใช่โลหะเข้ากับท่อหรือกล่องโลหะให้ทําได้แต่กล่องโลหะนั้นจะต้องมีการต่อลงดินด้วย
        
ซ. การเดินสายที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงเกิน 600 โวลท์ขึ้นไป ให้หุ้มท่อที่ใช้เดินสายนี้  ด้วยคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
(8) การเดินสายในรางเดินสาย (Wire Way) ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        
ก.รางเดินสายเป็นรางที่ทําด้วยโลหะมีพื้นที่หน้าตัดสี่เหลี่ยมและเป็นชนิดที่ใช้สําหรับงานเดินสายไฟฟ้าโดยเฉพาะผลิตจากโลหะที่ผุกร่อนได้ง่ายหรือมีการป้องกันการผุกร่อนที่เหมาะสมถ้าใช้ภายนอกอาคารต้องเป็นชนิดกันนํ้าได้
        
ข. การต่อรางเดินสายต้องต่อให้ยึดกันเองอย่างมั่นคง และห้ามติดตั้งรางเดินสายในบริเวณที่อาจมีการกระทบกระแทกได้โดยง่าย
        
ค.ห้ามวางสายในรางเดินสายเกินกว่า 30 เส้น ไม่ว่าจะเป็นขนาดเท่าใดและผลรวมของพื้นที่หน้าตัดของสายรวมเปลือกนอกต้องไม่เกินร้อยละ 20ของพื้นที่หน้าตัดภายในของรางเดินสายเว้นแต่
            
- สายของระบบลิฟท์ ผลรวมของพื้นที่หน้าตัดของสายรวมเปลือกนอกต้องไม่เกิน ร้อยละ 50 ของพื้นที่หน้าตัดภายในของรางเดินสาย
            
-ถ้าใช้ตัวคูณลดกระแสตามตารางที่ 3ในการกําหนดกระแสสูงสุดของสายให้วางสายเกิน 30 เส้นได้แต่พื้นที่หน้าตัดของสายรวมเปลือกนอกต้องไม่เกินร้อยละ 20ของพื้นที่หน้าตัดภายในของรางเดินสาย
        
ง.การต่อสายภายในรางเดินสายสามารถทําได้แต่ต้องใช้หัวต่อสายและพันฉนวนทับให้เรียบร้อยพื้นที่หน้าตัดของหัวต่อรวมฉนวนต้องไม่เกินร้อยละ 75ของพื้นที่หน้าตัดภายในของรางเดินสาย ณ จุดนั้น
        
จ. รางเดินสายช่วงที่ทะลุผ่านผนังต้องเป็นชิ้นเดียวตลอด และปลายสุดของรางเดินสายต้องมีแผ่นปิด
ข้อ 25 การเดินสายนอกอาคาร ณ สถานประกอบการต้องจัดทําให้เหมาะสมตามวิธีการ ดังต่อไปนี้

(1)การเดินสายบนตุ้ม ให้ใช้สายเดียวหุ้มฉนวน ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 24(1) ข. เว้นแต่ถ้าเดินผ่านที่โล่งให้ใช้ช่วงระหว่างตุ้มไม่เกิน 5 เมตรและขนาดของสายที่ใช้เดินต้องไม่เล็กกว่า 2 ตารางมิลลิเมตร

(2)การเดินสายบนลูกถ้วยให้ใช้สายเดี่ยวหุ้มฉนวนถ้าเดินเกาะไปตามสิ่งก่อสร้างต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 24 (1) ค.เว้นแต่ถ้าเดินผ่านที่โล่ง ปฏิบัติตามตารางที่ 5 ดังนี้

ตารางที่ 5

ช่วงสาย

ระยะระหว่างสาย
ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า

ระยะระหว่างสาย
ไฟฟ้ากับสิ่งก่อสร้าง

ขนาดพื้นที่หน้าตัด
เล็กที่สุดที่ใช้

ไม่เกิน 10 เมตร
10 - 25 เมตร
26 - 40 เมตร

15 เซนติเมตร
20 เซนติเมตร
30 เซนติเมตร

5 เซนติเมตร
5 เซนติเมตร
5 เซนติเมตร

2 ตารางมิลลิเมตร
4 ตารางมิลลิเมตร
6 ตารางมิลลิเมตร

(3) การเดินสายด้วยพุกประกับและเข็มขัดรัดสายให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 24 (1) ก. และ ง.
(4) การเดินสายฝังลงไปในผนังตึกให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 24 (2), (3) และ (4)
(5) การเดินสายภายนอกอาคารด้วยวิธีอื่นๆ อาจทําได้แต่ต้องได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าของท้องถิ่นนั้นๆ
(6)สายที่เดินในระดับที่สูงกว่าพื้นดินไม่เกิน 2 เมตร 50 เซนติเมตรต้องเดินในท่อโลหะหรือท่อพลาสติกอย่างหนา หรือท่อไฟเบอร์หรือครอบด้วยรางโลหะ
(7)สายไฟฟ้าที่เดินผ่านที่โล่งและเป็นบริเวณที่มียานพาหนะผ่านต้องสูงไม่น้อยกว่า 5 เมตร 60 เซนติเมตร
ข้อ 26การเดินสายฝังดิน อาจร้อยในท่อโดยปฏิบัติตามข้อ 24 (3), (4) และ (7)ส่วนการเดินสายฝังดินโดยตรงต้องใช้สายชนิดที่มีฉนวนหุ้มอย่างน้อยสองชั้นและฉนวนชั้นนอกต้องเป็นเทอร์โมพลาสติกหรือตะกั่วโดยต้องฝังให้ลึกไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และใช้ทรายกลบแล้ววางแผ่นคอนกรีตหรือแผ่นอิฐทับตลอดสายก่อนใช้ดินกลบ ตอนที่สายโผล่จากพื้นดินจะต้องป้องกันโดยการร้อยผ่านท่อโลหะหรือวิธีอื่นที่เหมาะสม
ข้อ 27 การเดินสายขนาดต่างๆ ไม่เท่ากัน อาจเดินรวมกันในท่อเดียวกันได้ในกรณีต่อไปนี้
(1) ขนาดพื้นที่หน้าตัดของตัวนําของสายไฟฟ้ารวมกันไม่เกินร้อยละ 10 ของขนาดพื้นที่หน้าตัดของท่อ
(2) พื้นที่หน้าตัดของสายไฟฟ้าซึ่งรวมฉนวนและเปลือกนอกรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่หน้าตัดของท่อ
ข้อ 28 การเดินสายในท่อโลหะที่เป็นสารแม่เหล็ก ถ้าเป็นไฟฟ้าระบบชนิด 3 ยก (Three Phases) ให้เดินรวมไปในท่อเดียวกันห้ามเดินแยก
ข้อ 29การเดินสายในท่อโลหะที่เป็นสารแม่เหล็ก ต้องจัดให้เส้นแรงแม่เหล็ก(Electromagnetic Flux) ที่เกิดขึ้นจากการไหลของกระแสในท่อนั้นสมดุลย์กัน
ข้อ 30การโค้งท่อเดินสายต้องไม่ทําให้เส้นผ่าศูนย์กลางของท่อตรงส่วนที่โค้งเล็กลงรัศมีความโค้งด้านในของท่อที่ใช้ร้อยสายชนิดที่มีปลอกตะกั่วจะต้องไม่น้อยกว่า 10 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อเว้นแต่ท่อที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 เซนติเมตร รัศมีความโค้งต้องไม่น้อยกว่า 12 เท่าสําหรับสายที่มีปลอกตะกั่วหุ้ม
ข้อ 31 ในกรณีที่เดินสายผ่านทะลุสิ่งก่อสร้าง เช่น ผนังตึก หรือฝาสังกะสี จะต้องมีปลอกฉนวนป้องกันสาย
ข้อ 32 ความต้านทานของฉนวนที่วัดระหว่างสายกับสาย และสายกับดินต้องเป็น  ดังนี้
(1)การวัดความต้านทานของฉนวนของสายไฟฟ้าในขณะที่สับสวิตช์ และต่อฟิวส์ไว้เมื่อถอดหลอดไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด ต้องวัดได้ไม่ตํ่ากว่า0.5 เมกโอห์ม
(2)การติดตั้งสายไฟฟ้าทั้งหมดหรือวงจรย่อย ต้องให้มีความต้านทานไม่ตํ่ากว่า0.5 เมกะโอห์ม มิฉะนั้นจะต้องแบ่งวงจรย่อยเพิ่มขึ้นอีกจนกระทั่งมีความต้านทานของแต่ละวงจรย่อยไม่ตํ่ากว่า 0.5 เมกโอห์ม
(3) การวัดค่าความต้านทานของฉนวนให้กระทําโดยใช้แรงดันไฟฟ้ากระแสตรงไม่ตํ่ากว่า 500 โวลท์ เป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 30 วินาที


หมวด 4
ระบบการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด


ข้อ 33 การเดินสายไฟฟ้าในสถานที่ประกอบการ จะต้องมีเครื่องตัดกระแสติดตั้งไว้ ณ ที่ดังต่อไปนี้ (1)ระหว่างเครื่องวัดไฟฟ้ากับสายภายในสถานที่ประกอบการในกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งอาคารขึ้นไปจะต้องติดตั้งไว้ระหว่างสายภายนอกอาคารกับสายภายในอาคารด้วย
(2) จุดที่มีการเปลี่ยนขนาดสาย ยกเว้นกรณีที่
        
ก. เมื่อขนาดของเครื่องตัดกระแสไฟเกินขนาดต้นทาง สามารถตัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ยอมให้ใช้สําหรับสายต่อแยกนั้น
        
ข. สายที่ต่อลงเครื่องตัดกระแสชนิดอัตโนมัติซึ่งมีความยาวไม่เกิน 3 เมตร
        
ค. สายที่ต่อแยกมีความยาวไม่เกิน 7 เมตร 50 เซนติเมตร และมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 1/3 ของสายเมนที่จ่ายไฟฟ้าให้กับสายแยกนั้น
ข้อ 34 เครื่องตัดกระแสต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ต้องสามารถตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ (Interrupting Capacity) ไม่น้อยกว่ากระแสลัดวงจร ณ จุดนั้นโดยไม่ระเบิด
(2) ต้องตัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรในสายขนาดเล็กที่สุดในวงจรนั้นได้ก่อนที่จะร้อน
(3) ทําหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าเกินขนาดได้ทันทีก่อนที่สายจะร้อน
(4) เครื่องตัดกระแสในระบบ 3ยกต้องใช้เครื่องตัดกระแสชนิดที่ออกแบบใช้เฉพาะสําหรับระบบ 3 ยกเท่านั้นและห้ามติดตั้งเครื่องตัดกระแสในเส้นศูนย์
ข้อ 35 เครื่องตัดกระแสชนิดมือโยกแบบใบมีด ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) ติดตั้งไว้ ในตู้เหล็ก มีฝาปิดมิดชิด และมีเครื่องป้องกันมิให้ฝาเปิดก่อนที่จะยกใบมีด
(2) ติดตั้งในลักษณะที่ใบมีดไม่สามารถสับสวิตซ์ด้วยตัวเองได้ และเมื่อยกใบมีดแล้วด้านใบมีดต้องไม่มีกระแสไฟฟ้า
ข้อ 36เมื่อใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดพร้อมกันในวงจรแต่ละวงจรจะต้องมีกระแสไฟฟ้าไม่เกินขนาดของกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ยอมให้ใช้กับสายไฟฟ้าของวงจรนั้น และต้องไม่ทําให้แรงดันไฟฟ้าตกเกินกว่าร้อยละ 2ระหว่างเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้ากับสายภายในตอนใดตอนหนึ่งเมื่อใช้กระแสไฟฟ้าเต็มที่
ข้อ 37การต่อสายต้องต่อให้แน่นด้วยวิธีบีบอัด หรือแบบสลักเกลียวหรือแบบบัดกรีหรือเชื่อมหรือใช้อุปกรณ์อื่นด้วยวิธีที่ถูกต้องเพื่อให้ได้ผลดีทางไฟฟ้าและทางกลและต้องใช้ฉนวนหุ้มรอยต่อให้มีคุณสมบัติเท่ากับฉนวนที่หุ้มตัวนํานั้นขณะใช้งานในอุณหภูมิของรอยต่อต้องไม่สูงกว่าอุณหภูมิของสาย
ข้อ 38 การต่อสายทุกแห่งต้องทําในที่ซึ่งตรวจได้สะดวก การต่อสายในรางเดินสาย (Wire Way) รางเดินสายต้องเป็นแบบที่เปิดฝาออกตรวจได้
ข้อ 39 การเดินสายบนตุ้มหรือพุกประกับรอยต่อแยก ต้องอยู่ห่างจากตุ้มหรือพุกประกับไม่เกิน 15 เซนติเมตร
ข้อ 40การเดินสายด้วยบัสเวย์ (Bus Way) หรือบัสดัคท์ (Bus Duct)ตัวนําที่ใช้ในรางจะหุ้มฉนวนหรือไม่ก็ได้แต่ต้องมีฉนวนรองรับการต่อสายแยกจากรางประเภทนี้ต้องทํา ณจุดที่เปิดไว้เพื่อการต่อโดยเฉพาะ การต่อแยกให้ใช้บัสเวย์ (Bus Way)ถ้าหากจะต่อด้วยสายต้องใช้สายที่มีฉนวนหุ้มโดยร้อยในท่อหรือใช้สายประเภทที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าเคลื่อนย้ายได้แต่ต้องมีการป้องกันไม่ให้ฉนวนหุ้มสายชํารุดจากการเสียดสีกับราง
ข้อ 41 สายเคเบิลอ่อน(Flexible Cable) และสายอ่อน (Flexible Cord)ที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้ายได้ต้องเป็นเส้นยาวโดยตลอดไม่มีรอยต่อหรือรอยต่อแยก
ข้อ 42เต้าเสียบและกระจุ๊บเสียบหลายทางหรือทางเดียวห้ามใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดของสายที่ต่อแยกเข้าเต้าเสียบและกระจุ๊บเสียบเหล่านั้นและตัวเต้าเสียบหรือกระจุ๊บเสียบที่ใช้ต้องมีขนาดที่สามารถทนกระแสไฟฟ้าไม่ตํ่ากว่ากระแสไฟฟ้าที่กําหนดให้ใช้สําหรับสายนั้น
ข้อ 43 ในสถานที่ประกอบการต้องติดตั้งเต้าเสียบไว้ให้เพียงพอแก่การใช้งาน เพื่อมิให้มีการต่อไฟโดยใช้วิธีที่ไม่ปลอดภัย
ข้อ 44 อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบต้องมีขนาดการใช้กระแสไฟฟ้าไม่เกินกระแสไฟฟ้าที่ยอมให้ใช้ ณ จุดนั้น
ข้อ 45ส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้แรงดันตั้งแต่ 50 โวลท์ขึ้นไปต้องมีที่ปิดกันอันตรายในกรณีที่ส่วนที่มีไฟฟ้านั้นไม่มีที่ปิดต้องมีแผ่นยาง (Rubber Matting) ปูไว้ที่พื้นเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ
ข้อ 46อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ติดตั้งหรือนําไปใช้งานในบริเวณที่มีไอระเหยของสารที่มีความไวไฟ หรือบริเวณที่อาจเกิดเพลิงไหม้ได้ ต้องใช้อุปกรณ์ชนิดที่กันไอระเหยได้ (Explosion Proof)
ข้อ 47อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ติดตั้งหรือนําไปใช้งานในที่มีละอองนํ้าหรือมีความชื้นหรือไอระเหยกรดต้องใช้อุปกรณ์ชนิดที่ป้องกันนํ้าหรือไอระเหยของกรดได้
ข้อ 48 เครื่องมือไฟฟ้าชนิดถือหรือชนิดเคลื่อนย้ายได้ ต้องมีลักษณะ ดังนี้
(1) ต้องมีสายดินติดอยู่ที่ครอบโลหะของเครื่องมือนั้นอย่างถาวร หรือ
(2) เป็นแบบที่มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น และประทับคํ าว่า “ฉนวน 2 ชั้น” ด้วย หรือ
(3) เครื่องมือนั้นใช้ไฟฟ้าที่มีแรงดันไม่เกิน 50 โวลท์ ซึ่งต่อจากหม้อแปลงแบบแยกขดลวด และขดลวดทางด้านแรงตํ่าไม่ได้ต่อลงดิน
(4) ใช้กับวงจรที่ใช้เครื่องตัดกระแสไฟฟ้ารั่วโดยอัตโนมัติ (Ground Fault Circuit Interrupter)


หมวด 5
การออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า


ข้อ 49 หม้อแปลงไฟฟ้า หม้อแปลงเครื่องวัด ขดลวดจํากัดกระแส และเครื่องปรับแรงดัน เมื่อติดตั้งใช้งานต้องต่อเปลือกหุ้มที่เป็นโลหะลงดิน
ข้อ 50 หม้อแปลงไฟฟ้า (Power Transformer) ที่มีแรงดันสูงกว่า 600 โวลท์ขึ้นไป
(1) ติดตั้งภายนอกอาคาร ต้องให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        ก. การติดตั้งบนเสาหรือโครงสร้างที่มีเสาต้องปฏิบัติดังนี้
            
1. เสาหรือโครงสร้างต้องสามารถรับนํ้าหนักของหม้อแปลงไฟฟ้าได้โดยปลอดภัย
            
2. ไม่กีดขวางการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานไฟฟ้า
            
3. ต้องไม่อยู่ในบริเวณที่สํารองไว้สําหรับการปีนเสา
            
4. ส่วนที่มีไฟฟ้าของหม้อแปลงและส่วนประกอบ ต้องมีระยะห่างจากอาคารและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ตามระยะที่กําหนด ดังนี้
                 
- แรงดันไม่เกิน 5 กิโลโวลท์ ระยะห่างตํ่าสุด 1 เมตร ถ้าเป็นผนังปิดมิดชิดระยะห่างตํ่าสุด 30 เซนติเมตร
                 
- แรงดันเกินกว่า 5 กิโลโวลท์ ถึง 8.75 กิโลโวลท์ ระยะห่างตํ่าสุด 1 เมตร
                 
- แรงดันเกินกว่า 8.75 กิโลโวลท์ ถึง 15 กิโลโวลท์ ระยะห่างตํ่าสุด 1 เมตร 50 เซนติเมตร
                 
- แรงดันเกินกว่า 15 กิโลโวลท์ ถึง 50 กิโลโวลท์ ระยะห่างตํ่าสุด 2 เมตร 50 เซนติเมตร
            
5.ถ้าอยู่ในสถานที่ไม่มียานพาหนะผ่านต้องสูงเหนือพื้นไม่น้อยกว่า 3 เมตร 40เซนติเมตร ถ้าอยู่ในสถานที่ที่ยานพาหนะผ่านได้ ต้องสูงไม่น้อยกว่า 4 เมตร
        
ข. การติดตั้งกับกําแพงอาคารต้องได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าในเขตนั้นก่อน
        
ค. การติดตั้งบนพื้นต้องปฏิบัติดังนี้
            
1. จัดให้มีรั้วล้อมรอบ ป้องกันมิให้ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไป
            
2. รั้วต้องห่างจากหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างน้อย 1 เมตร และถ้าเป็นรั้วโลหะต้องต่อลงดิน
            
3. ประตูรั้วต้องเปิดออกข้างนอกได้
            
4. จัดให้มีแสงสว่างในเวลากลางคืน
(2) ติดตั้งภายนอกอาคาร ต้องให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
        
ก.ถ้าเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าประเภทที่บรรจุนํ้ามันซึ่งติดไฟได้ต้องติดตั้งในห้องที่มีฝาทั้ง 4 ด้านและฝาผนังต้องมีระยะห่างจากหม้อแปลงไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 1 เมตรและประตูต้องมีธรณีเพื่อกันนํ้ามันที่อาจจะรั่วออกมาหรือจัดให้มีทางระบายนํ้ามันโดยเฉพาะผนังห้องและเพดานต้องทนไฟได้นานไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมงห้องหม้อแปลงไฟฟ้าต้องมีช่องระบายอากาศเพียงพอโดยไม่ทําให้อุณหภูมิของหม้อแปลงไฟฟ้าสูงเกินกําหนด
        
ข.หม้อแปลงไฟฟ้าประเภทบรรจุของเหลวที่ไม่ติดไฟ ถ้าขนาดไม่เกิน 25 เค.วี.เอ.ต้องมีท่อระบายความดัน (Pressure Relief Vent) ห้องหม้อแปลงต้องมีทางระบายอากาศเพียงพอโดยไม่ทําให้อุณหภูมิของหม้อแปลงสูงเกินกําหนดและถ้าการระบายอากาศไม่ดีพอต้องต่อท่อจากทางระบายความดันออกสู่บรรยากาศภายนอก
        
ค. หม้อแปลงไฟฟ้าแบบแห้ง(Dry Type Transformer) หรือหม้อแปลงไฟฟ้าประเภทบรรจุของเหลวที่ไม่ติดไฟและขนาดตํ่ากว่า 25 เค.วี.เอ.ติดตั้งที่ใดก็ได้แต่ต้องมีรั้วล้อมรอบป้องกันมิให้บุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปไดและต้องมีระยะห่างจากหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างน้อย 1 เมตร
ข้อ 51 หม้อแปลงเครื่องวัด (Instrument Transformer) ที่มีแรงดันสูงกว่า 600 โวลท์ขึ้นไป ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑดังต่อไปนี้
(1) สายทางด้านแรงดันตํ่าต้องต่อลงดินเว้นแต่สายแรงดันตํ่านั้นเป็นสายหุ้มฉนวนชนิดมีเปลือกโลหะซึ่งต่อลงดินและร้อยอยู่ในท่อโลหะที่ต่อลงดินด้วย หรือท่อชนิดอื่นที่เหมาะสม
(2) ถ้าเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าประเภทแปลงกระแส (Current Transformer) วงจรทางด้านแรงดันตํ่าต้องต่อให้เป็นวงจรปิดอยู่เสมอ
ข้อ 52 แผงสวิทช์ ต้องมีลักษณะและติดตั้งตามกฎเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(1) สวิตช์ทุกตัวและทุกแบบที่ติดตั้งบนแผงสวิทช์ต้องสามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้ตามอัตราที่กําหนดไว้สําหรับสวิทช์นั้นถ้าเป็นชนิดที่ไม่ได้ออกแบบให้ทํางานตัดวงจรขณะมีกระแสไฟจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจน
(2) สวิทช์ทุกตัวต้องมีอัตรากระแส(Ampere Rating)สูงพอที่จะใช้กับกระแสสูงสุดที่ยอมให้ใช้ในวงจรที่สวิทช์นั้นควบคุมอยู่ถ้าเป็นสวิทช์ประเภทอัตโนมัติ ต้องมีความสามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่ากระแสไฟฟ้าลัดวงจรสูงสุด ณ จุดที่ตั้งสวิทช์ นั้น
(3) สวิตช์ทุกตัวบนแผงสวิทช์ ต้องเข้าถึงได้ง่ายเพื่อความสะดวกในการปลดและสับ
(4) ต้องมีพื้นที่ทํางานเพียงพอที่จะทําการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ได้
(5) แผงสวิทช์ ต้องมีตู้ปิดมิดชิดและต้องติดตั้งห่างจากเครื่องจักรพอที่ผู้ปฏิบัติจะไม่ได้รับอันตรายจากเครื่องจักรและต้องมีแสงสว่างเพียงพอในกรณีที่ไม่มีตู้ปิดมิดชิดต้องมีรั้วล้อมรอบเพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไป
(6) แผงสวิทช์ ต้องทําด้วยวัสดุทนไฟ และไม่ดูดความชื้น
(7) แผงสวิทช์ ต้องติดตั้งให้มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงปลดและสับได้เป็นอย่างดี
(8)การติดตั้งและการต่อสายที่แผงสวิทช์ ต้องเป็นระเบียบสวิทช์ทุกตัวต้องมีอักษรกํากับบอกถึงวงจรที่สวิทช์นั้นควบคุมอยู่และต้องมีแผนผังทางไฟฟ้าให้ตรวจสอบได้
(9) ส่วนที่เป็นโลหะของแผงสวิทช์ ต้องต่อลงดิน
ข้อ 53 เครื่องกําเนิดไฟฟ้า
(1) เครื่องกําเนิดไฟฟ้า ต้องติดตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างพอที่จะปฏิบัติงานซ่อมแซมได้
(2)ถ้าติดตั้งภายในห้องต้องมีทางระบายอากาศเพียงพอและท่อไอเสียจากเครื่องยนต์ต้องต่อออกภายนอก
(3) ต้องมีเครื่องป้องกันกระแสไหลเกินขนาด
(4)ต้องมีเครื่องดับเพลิงชนิดที่ใช้ดับเพลิงซึ่งเกิดจากไฟฟ้าและต้องมีขนาดโตพอที่จะดับเพลิงที่เกิดจากนํ้ามันที่เก็บไว้ในห้องเครื่องได้เพียงพอ
(5) ในกรณีที่มีเครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารองจะต้องต่อผ่านสวิตช์ 2 ทาง หรืออุปกรณ์อย่างอื่นซึ่งมีจุดประสงค์เหมือนกันเท่านั้น

หมวด 6
สายดินและการต่อสายดิน


ข้อ 54 ห้ามมิให้ใช้สายศูนย์เป็นสายดินหรือใช้สายดินเป็นสายศูนย์ ข้อ 55 สายดินต้องเป็นโลหะที่ไม่ผุกร่อนง่าย
ข้อ 56 รอยต่อหรือต่อแยกต้องไม่เป็นเหตุให้เกิดความต้านทานสูงกว่าที่กําหนดไว้ในสายดินนั้น
ข้อ 57 ห้ามต่อฟิวส์หรือเครื่องตัดกระแสอัตโนมัติไว้ในสายดินยกเว้นในกรณีที่เครื่องตัดกระแสอัตโนมัตินั้นจะทํางานพร้อมกันกับเครื่องตัดกระแสที่จ่ายไฟฟ้าให้อุปกรณ์นั้นทุกทาง
ข้อ 58ห้ามต่อสวิทช์ไว้ในสายดินยกเว้นในกรณีที่ติดตั้งไว้ในที่เห็นได้ชัดโดยทําเครื่องหมายแสดงให้รู้ชัดเจนว่าเป็นสวิตช์ สายดิน และให้ใช้ได้เฉพาะผู้มีหน้าที่โดยตรงเท่านั้น
ข้อ 59 สายดินของเครื่องล่อฟ้า (Lightning Arrester) ต้องตรงและสั้นเท่าที่จะทําได้โดยปราศจากมุม
ข้อ 60 ขนาดของสายดินที่ใช้ ต้องมีขนาด ดังนี้
(1) สําหรับวงจรไฟฟ้ากระแสตรงขนาดของสายดินต้องไม่เล็กกว่าสายตัวนําที่ใหญ่ที่สุดในวงจรนั้นและไม่เล็กกว่าสายทองแดงที่มีขนาดพื้นที่หน้าตัด 8 ตารางมิลลิเมตรหรือโลหะชนิดอื่นที่มีความแข็งแรงและความเป็นตัวนําไม่น้อยกว่านั้น
(2) สําหรับวงจรไฟฟ้ากระแสสลับขนาดของสายดินต้องไม่เล็กกว่า 1/5 ของสายตัวนําที่ใหญ่ที่สุดในวงจรนั้นและไม่เล็กกว่าสายทองแดงที่มีพื้นที่หน้าตัด 8 ตารางมิลลิเมตรหรือโลหะชนิดอื่นที่มีความแข็งแรงและความเป็นตัวนําไม่น้อยกว่านั้น
(3)สําหรับวงจรของหม้อแปลงหรือเครื่องวัด (Instrument Transformer)ขนาดของสายดินต้องมีพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่าสายทองแดงขนาด 3.6ตารางมิลลิเมตรหรือโลหะชนิดอื่นที่มีความแข็งแรงและความเป็นตัวนําไม่น้อยกว่านั้น

(4)แผ่นเหล็กที่มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,800 ตารางเซนติเมตรถ้าเป็นเหล็กอาบโลหะชนิดกันผุกร่อนต้องหนาไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตรถ้าเป็นโลหะอื่นซึ่งไม่ผุกร่อนต้องหาไม่น้อยกว่า 1.5 มิลลิเมตรฝังลึกจากผิวดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร 40 เซนติเมตร

(5)เหล็กเส้นหรือสายทองแดงเปลือยขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 25ตารางมิลลิเมตร ยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตรม้วนเป็นขดแล้วฝังลึกลงดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร 40 เซนติเมตรและเทคอนกรีตทับหนาไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
ข้อ 66 ความต้านทานของดินต้องไม่เกิน 24 โอห์ม ณ จุดที่ปักหลักดิน
ข้อ 67 วงจรหรือระบบไฟฟ้าต่อไปนี้ให้ยกเว้นไม่ต้องต่อลงดิน
(1) ระบบไฟฟ้ากระแสตรง
        
ก. เมื่อวงจรนั้นมีเครื่องมือชี้บอกกระแสไฟรั่ว (Ground Detector) และเป็นการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทางอุตสาหกรรมในบริเวณจํากัด
        
ข. เมื่อระบบจ่ายกระแสไฟนั้นมีความต่างศักย์ไม่เกิน 50 โวลท์ ระหว่างสายกับสาย
        
ค. เมื่อระบบจ่ายกระแสไฟมีความต่างศักย์เกิน 300 โวลท์ ระหว่างสายกับสาย
        
ง.ระบบไฟฟ้ากระแสตรงนั้นได้มาจากเครื่องแปลงกระแสสลับเป็นกระแสตรง (Rectifier) ซึ่งด้านกระแสสลับได้ต่อลงดินไว้แล้ว
        
จ.วงจรที่ใช้กับสัญญาณแจ้งเพลิงไหม้ ซึ่งมีกระแสสูงสุดในวงจรไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์
(2) ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ
        
ก. เมื่อระบบไฟฟ้านั้นมีแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายกับสายน้อยกว่า 50 โวลท์
        
ข. ระบบไฟฟ้าที่จะจ่ายกระแสไฟให้กับเตาหลอมไฟฟ้า (Arc Furnace)
        
ค.วงจรไฟฟ้าเหล่านั้นมีการป้องกันไว้ด้วยเครื่องตัดวงจรกระแสไฟรั่วโดยอัตโนมัติ (Ground Fault Circuit Interrupter)


หมวด 7
การติดตั้งสายล่อฟ้า



ข้อ 68
ปล่องควันที่เป็นโลหะ ต้องมีการป้องกันฟ้าผ่า ดังนี้
(1) ปล่องควันที่เป็นโลหะไม่จําเป็นต้องติดตั้งสายล่อฟ้าแต่ต้องมีสายดินต่อไว้ให้ถูกต้องตามหมวด 6
(2) สายลวดโลหะที่ยึดปล่องควัน (MetalGuy Wires) ต้องต่อลงดินแต่ถ้าสายลวดโลหะยึดปล่องควันนี้ยึดติดกับสมอเหล็กที่ฝังลึกลงไปในดินและมีความต้านทานของดิน (Ground Resistance) ไม่เกิน 25 โอห์มให้ถือว่าได้ต่อลงดินแล้ว
ข้อ 69 ปล่องควันที่เป็นอิฐก่อหรือคอนกรีตต้องมีการป้องกันฟ้าผ่า ดังนี้
(1) ติดตั้งหลักล่อฟ้า (Air Terminal) ที่ปลายของปล่องควัน ดังนี้
        
ก.หลักล่อฟ้าต้องเป็นเหล็กที่แข็งแรงไม่เป็นสนิมหรือโลหะชนิดอื่นที่มีความคงทนต่อการผุกร่อนได้และมีความนําไฟฟ้าไม่น้อยกว่าท่อทองแดงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตรและมีความหนาของท่อไม่น้อยกว่า 0.8 มิลลิเมตร   
        ข. ติดตั้งรอบปล่องโดยให้มีระยะห่างกันไม่เกิน 2 เมตร40 เซนติเมตร และมีสายต่อเชื่อมถึงกันให้ครบวงจร (Closed Loop)ถ้าปล่องควันที่มีฝาครอบโลหะอยู่ด้วยก็ให้ต่อกับหลักล่อฟ้าด้วย
        ค. ความสูงของหลักล่อฟ้าเหนือขอบปล่องควันให้เป็น ดังนี้
                 1.   ปล่องควันทั่วไป สูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร และไม่เกินกว่า 75 เซนติเมตร
                 2.   ปล่องระบายควันที่เป็นฝุ่น ไอ หรือแก๊สซึ่งระเบิดได้เมื่อมีประกายไฟจะต้อง สูงไม่น้อยกว่า 1 เมตร 50 เซนติเมตรแต่ถ้าเป็นปล่องชนิดปลายเปิดหลักล่อฟ้าจะต้องติดตั้งให้สูงกว่าปลายปล่องไม่น้อยกว่า 4 เมตร 50เซนติเมตร
(2)   หลักล่อฟ้า ต้องต่อลงดินด้วยสายดิน ดังนี้
       ก. สายดินที่ใช้ต้องเป็นทองแดงชนิดที่มีคุณสมบัติใช้ในงานไฟฟ้าซึ่งมีความนำไฟฟ้าได้ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ มอก. 64-2517และต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่เล็กกว่า 70 ตารางมิลลิเมตร
        ข. สายที่เป็นท่อกลวง ต้องเป็นทองแดงโดยมีพื้นที่หน้าตัดของเนื้อทองแดงและความนำไฟฟ้าไม่น้อยกว่าข้อ ก.และความหนาของท่อ ต้องไม่น้อยกว่า 1.5 มิลลิเมตร
        ค. สายที่เป็นแผ่นยาวหรือสายถักความหนาต้องไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตรโดยต้องมีพื้นที่หน้าตัดของเนื้อทองแดงและความนำไฟฟ้าไม่น้อยกว่าข้อ ก.
        ง. ถ้ามีหลักล่อฟ้ามากกว่าหนึ่งหลักต้องมีสายดินอย่างน้อย 2 สายตรงข้ามกัน โดยต่อจากสายที่ต่อเชื่อมครบวง(Closed Loop) จากส่วนบนของปล่องไปยังดิน สายดินทั้ง 2 นี้จะต้องต่อเชื่อมกันที่ฐานของปล่องควันและแต่ละสายแยกต่อกับหลักดิน
        จ. ถ้าปล่องควันสูงตั้งแต่ 50 เมตรขึ้นไป ต้องต่อเชื่อมครบวงจรสายดินที่ตรงจุดกึ่งกลางของปล่องควัน ให้ถึงกัน
(3)   ตัวจับยึดสายดิน ต้องมีระยะห่างและลักษณะ ดังนี้
        ก.   ต้องเป็นทองแดงหรือโลหะผสมทองแดง
        ข.   ระยะห่างระหว่างตัวจับยึดในการยึดลงดินต้องไม่ห่างเกิน 1 เมตร 20 เซนติเมตรตามแนวตั้ง และ 60 เซนติเมตร ตามแนวนอน
ข้อ 70 หลักล่อฟ้าที่เป็นทองแดงสายดินและตัวจับยึด จะต้องฉาบผิวด้วยตะกั่วหนาอย่างน้อย 1.6 มิลลิเมตรในระยะ 7 เมตร 50 เซนติเมตร จากปลายปากปล่องลงมาและสูงขึ้นไปตลอดจนถึงปลายหลักล่อฟ้า
ข้อ 71 สายดินต้องมีรอยต่อน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องมีความแข็งแรงรับแรงดึงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50ของความแข็งแรงของสาย และจะต้องไม่มีมุม
ข้อ 72 การต่อลงดิน จะต้องทำเช่นเดียวกับการต่อสายดินตามหมวด 6
ข้อ 73 ส่วนของสายดินที่สูงจากพื้นดิน 2เมตร 50 เซนติเมตร ต้องมีการป้องกันการกระทบกระแทก โดยใช้ไม้หรือวัสดุที่ไม่เป็นสารแม่เหล็กห่อหุ้มถ้าใช้ท่อโลหะที่ไม่เป็นสารแม่เหล็กห่อหุ้ม สายดินต้องต่อเชื่อมปลายด้านบน และล่างของท่อเข้ากับสายด้วย
ข้อ 74 ปล่องควันที่บุผิวด้านโลหะหรือมีบันไดเป็นโลหะ ต้องต่อผิวโลหะหรือบันไดนั้นเข้ากับสายดินด้วยทั้งส่วนบนและส่วนล่าง
ข้อ 75ปล่องควันที่อยู่ในกรอบรัศมีคุ้มกันของระบบป้องกันฟ้าผ่าซึ่งมีรัศมีที่พื้นดินเป็น 2 เท่าของความสูงของสายหลักล่อฟ้า ไม่ต้องติดตั้งสายล่อฟ้า
ข้อ 76 ถังซึ่งเก็บของเหลวไวไฟหรือแก๊สไวไฟต้องมีการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าถังโดยติดตั้งระบบล่อฟ้าในกรณีที่เป็นถังเหล็ก และมีหลังคาไม่เป็นโลหะต้องติดหลักล่อฟ้าหรือสายล่อฟ้าหรือทั้งสองอย่าง ให้มีความสูงและจำนวนเพียงพอ ที่จะป้องกันฟ้าผ่าถังได้โดยตัวถังต้องอยู่ภายในกรวยของรัศมีคุ้มกันของหลักล่อฟ้าหรือสายล่อฟ้าซึ่งทำมุมไม่เกิน 45 องศากับแนวดิ่ง สายล่อฟ้าและ/หรือหลักล่อฟ้านั้นต้องต่อเชื่อมกับถังเหล็กและต่อลงดินโดยถูกต้อง
               ยกเว้นในกรณีที่ถังนั้นตั้งอยู่ภายในรัศมีคุ้มกันของสายล่อฟ้าหรือเสาล่อฟ้า (Mast) ที่ติดตั้งอยู่แล้ว
               กรณีที่หลังคาที่มีบางส่วนเป็นโลหะอยู่บ้าง ให้ต่อเชื่อมส่วนที่เป็นโลหะนั้นเข้ากับระบบสายล่อฟ้าด้วย
               ยกเว้นในกรณี ดังต่อไปนี้
(1)   ถังเหล็กที่มีหลังคาเป็นโลหะมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
        ก. ทุกๆ รอยต่อระหว่างแผ่นเหล็ก จะต้องยึดโดยใช้หมุดย้ำ สลักยึดหรือเชื่อมถึงกัน
        ข.  ท่อทุกท่อที่ต่อกับถัง จะต้องมีการต่อชนิดโลหะต่อโลหะกับถังทุกจุดที่ต่อ
        ค.  ทางออกของไอหรือแก๊ส จะต้องปิดแน่น
        ง.  หลังคา จะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 2.7 มิลลิเมตร
        จ.   หลังคาส่วนบนของถัง จะต้องเชื่อม หรือย้ำหมุดหรือใช้สลักเกลียวยึดกับเปลือกถัง และอุดรอยรั่วตามตะเข็บกันรั่วทุกส่วนจะต้องมีการต่อเนื่องทางไฟฟ้าถึงกันตลอด
        ฉ.   ตัวถังต้องต่อลงดินโดยถูกต้อง
(2)   ถังเก็บของเหลวไวไฟภายใต้ความกดดัน ไม่จำเป็นต้องมีการป้องกันฟ้าผ่า


หมวด 8
การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า



ข้อ 77นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า เช่น ถุงมือยางแขนเสื้อยาง ถุงมือหนัง ถุงมือทำงาน แผ่นยาง ผ้าห่มยาง ฉนวนคลอบลูกถ้วยฉนวนหุ้มสาย หมวกแข็งกันไฟฟ้า ฯลฯให้แก่ลูกจ้างที่จะปฏิบัติเกี่ยวกับงานไฟฟ้าตามความเหมาะสมของงานในเมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านั้นมีแรงดันไฟฟ้ามากกว่า 50 โวลท์หรือในกรณีที่อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันต่ำกว่า 50 โวลท์แต่มีโอกาสที่จะเกิดแรงดันสูงเพิ่มขึ้นในกรณีผิดปกติ

ข้อ 78ลูกจ้างที่ต้องขึ้นปฏิบัติงานสูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไปนายจ้างจะต้องจัดหาเข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) หมวกแข็งชนิด ค.ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ว่าด้วยหมวกแข็งและอุปกรณ์อื่นๆที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ ให้ลูกจ้างสวมใส่ตอดเวลาที่ปฏิบัติงานอยู่เว้นแต่อุปกรณ์นั้นจะทำให้ลูกจ้างเสี่ยงอันตรายมากกว่าเดิมในกรณีนี้ให้ใช้อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่างอื่นแทน
ข้อ 79 นายจ้างต้องจัดหารองเท้าพื้นยางหุ้มข้อชนิดมีส้น ให้กับลูกจ้างสวมใส่ตลอดเวลาของการทำงาน
ข้อ 80 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า จะต้องมีคุณสมบัติได้มาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(1)   อุปกรณ์ฉนวนที่ใช้กันกระแสไฟฟ้าจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับแรงดันสูงสุดในบริเวณที่ปฏิบัติงานใกล้เคียงและมีมาตรฐานตามข้อกำหนดในมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
2)   อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมกับแรงดันสูงสุดในบริเวณที่ปฏิบัติงานหรือใกล้เคียงและมีมาตรฐานตามข้อกำหนดในมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
(3)   ถุงมือหนังที่ใช้สวมทับถุงมือยางต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือ มีลักษณะใช้สวมทับถุงมือยางได้พอเหมาะและมีความคงทนต่อการฉีกขาดได้ดี
(4)   ถุงมือยางกันไฟฟ้า มีลักษณะสวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้วและต้องใช้คู่กับถุงมือหนังตามข้อ (3) ทุกครั้งที่ใช้ปฏิบัติงานโดยมีคุณสมบัติที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล


หมวด 9
เบ็ดเตล็ด



ข้อ 81 ข้อกำหนดมาตรฐานและการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้าที่กำหนดไว้ในประกาศนี้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ ที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น

ข้อ 82นายจ้างต้องจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัยโดยให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศนี้เพื่อแจกจ่ายให้เป็นคู่มือสำหรับลูกจ้างถือปฏิบัติ
ข้อ 83 นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้ามีความรู้และความสามารถในเรื่องต่อไปนี้
(1)   วิธีปฏิบัติเมื่อมีลูกจ้างประสบอันตรายจากไฟฟ้า
(2)   การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตโดยวิธีใช้ปากเป่าอากาศเข้าทางปากหรือจมูกของผู้ประสบอันตราย และวิธีการนวดหัวใจจากภายนอก
ข้อ 84 ถ้าปฏิบัติงานในเวลากลางคืนนายจ้างต้องจัดให้มีแสงสว่างในบริเวณที่ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอโดยให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ภาวะแวดล้อมเกี่ยวกับเรื่องแสง
ข้อ 85 เมื่อลูกจ้างต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าในบริเวณที่อยู่ใกล้หรือเหนือน้ำ จะต้องจัดให้มีเครื่องชูชีพกันจมน้ำด้วย
ข้อ 86งานใดที่มีลักษณะไม่เหมาะสมแก่การที่จะให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลดังที่ระบุไว้ในหมวดนี้นายจ้างอาจผ่อนผันให้ลูกจ้างระงับการใช้อุปกรณ์นั้นเฉพาะการปฏิบัติงานในลักษณะเช่นว่านั้นเป็นการชั่วคราวได้แต่นายจ้างต้องเป็นผู้รับผิดชอบตามประกาศนี้
ข้อ 87สถานประกอบการใดที่มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้พนักงานเจ้าหน้าที่อาจออกคำเตือนหรือคำแนะนำเป็นลายลักษณ์อักษรให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดก่อนก็ได้
ข้อ 88 ข้อความใดในประกาศนี้ที่อาจตีความได้หลายนัย นัยใดจะทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตหรือทรัพย์สินให้ถือเอานัยนั้น
ข้อ 89 ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตามประกาศนี้
ข้อ 90 ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับตั้งแต่ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2522
ดำริ น้อยมณี
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 84 วันที่ 21 พฤษภาคม 2522

ข้อมูลจาก สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า