กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

แผนที่ระดับเสียงโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

                               
งานวิจัยด้านเสียงและความสั่นสะเทือน -                                                                                                         โครงการ/งานวิจัยที่ดำเนินการสำเร็จแล้ว                                                                               
                        โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านเสียงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก่อนเปิดดำเนินการโดยสำรวจและจัดทำแผนที่ระดับเสียงรอบโครงการในรัศมี 10 กิโลเมตรจากด้านเหนือและด้านใต้ของท่าอากาศยาน

แผนที่ระดับเสียงโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก่อนเปิดดำเนินการ

บทคัดย่อ


กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกับกรมควบคุมมลพิษดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านเสียงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก่อนเปิดดำเนินการโดยสำรวจและจัดทำแผนที่ระดับเสียงรอบโครงการในรัศมี 10 กิโลเมตรจากด้านเหนือและด้านใต้ของท่าอากาศยาน รวมเนื้อที่
124 ตารางกิโลเมตร ในหนึ่งตารางกิโลเมตร มีจุดตรวจวัดระดับเสียงซึ่งเป็นตัวแทน 1 จุด สำหรับค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการตรวจวัดนี้คือ Leq (Equivalent
Continuous Sound Level) 24 ชั่วโมง โดยตรวจวัดทุกๆ 1 นาทีต่อเนื่อง 7 วัน และสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ค่าระดับเสียง Leq
เฉลี่ย 24
ชั่วโมงของพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก่อนเปิดดำเนินการมีค่าระดับเสียงส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง
55-59
dB(A) คิดเป็นร้อยละ 46.77 ของพื้นที่ที่ตรวจวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นย่านที่อยู่อาศัยแผนที่ระดับเสียงนี้จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ระดับเสียงหลังท่าอากาศยาน
เปิดดำเนินการ เพื่อใช้กำหนดมาตรการลดผลกระทบและแนวทางแก้ไขในอนาคต
1. บทนำ



การพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องทำให้รัฐบาลต้องวางแผนเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาในอนาคต ก่อให้เกิดโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ขึ้นมากมายรวมถึงท่าอากาศยานนานาชาติแห่งใหม่ของประเทศไทย(ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
การก่อสร้างท่าอากาศยานขนาดใหญ่นี้ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลพิษทางเสียงจากอากาศยานซึ่งประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานเสียงรบกวนจากอากาศยานทำให้ต้องใช้มาตรการในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมจึงร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ
จัดทำโครงการศึกษาผลกระทบด้านเสียงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ดำเนินการสำรวจและจัดทำแผนที่ระดับเสียงของพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในรัศมี 20 กิโลเมตรสำหรับการจัดทำแผนที่ระดับเสียงนี้เป็นการจัดทำแผนที่ของระดับเสียงก่อนที่ท่าอากาศยานจะเปิดดำเนินการซึ่งจำเป็นต้องศึกษาค่าระดับเสียงโดยเฉลี่ยของพื้นที่เดิมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันหรือลดปัญหาในอนาคต โดยใช้ Noise Descriptor แบบ Leq (Equivalent Continuous Sound Level) 24 ชั่วโมง ต่อเนื่อง
7
วัน ซึ่งเป็นมาตรฐานเสียงทั่วไปของประเทศไทย
ขณะไม่มีเครื่องบินบินผ่านทั้งนี้แผนที่ดังกล่าวจะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเปรียบเทียบกับแผนที่ระดับเสียงหลังเปิดให้บริการเพื่อศึกษาผลกระทบด้านเสียงที่เกิดขึ้นต่อชุมชนและใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการลดผลกระทบในเรื่องเสียงรบกวนที่มีต่อประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

2. วิธีการศึกษา

               1.
จัดทำแผนที่สำรวจโดยใช้ มาตราส่วน 1
ต่อ 50,000
เพื่อใช้กำหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (2548) โดยแบ่งพื้นที่เป็น
124 ตารางกิโลเมตรรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ในหนึ่งตารางกิโลเมตรมีจุดตรวจวัดระดับเสียง 1 จุด




2.
สำรวจและตรวจวัดระดับเสียงในพื้นที่ที่กำหนดโดยใช้จุดที่ใกล้เคียงกับจุดกึ่งกลางของพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรมากที่สุด
สำหรับการตรวจวัดเสียงจะใช้ค่า Leq ทุกๆ 1 นาที วัดต่อเนื่อง
7 วัน



3. จัดทำแผนที่ระดับเสียงของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยแบ่งค่าระดับเสียงเป็นช่วงๆ ละ 5 dB(A) และใช้สีต่างๆ เป็นตัวแทน

3. ผลการศึกษา

ผลการตรวจวัดระดับเสียงในพื้นที่
124 ตารางกิโลเมตร พบว่าค่าระดับเสียง Leq (Equivalent Continuous Sound Level)
24 ชั่วโมงในแต่ละจุดตรวจวัดของแต่ละวันส่วนใหญ่มีค่าไม่แตกต่างกันมากนักทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมของเสียงในแต่ละพื้นที่เป็นหลัก เช่นจุดตรวจวัดที่อยู่ใกล้ถนน กิจกรรมของเสียงหลักมาจากการจราจรส่วนจุดตรวจวัดในชุมชนกิจกรรมของเสียงหลักคือเสียงจากกิจกรรมในชุมชนนั่นเอง เป็นต้นสำหรับค่าระดับเสียงเฉลี่ยสูงสุดจากข้อมูลการตรวจวัดเมื่อนำผลการตรวจวัดที่ได้มาทำเป็นแผนที่ระดับเสียง Leq เฉลี่ยใน 7 วัน จะได้แผนที่ระดับเสียงดังแสดงในรูปที่
1
พบว่าพื้นที่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 124 ตารางกิโลเมตร จากจุดตรวจวัด 124 จุดตรวจวัด
มีค่าระดับเสียง Leq
เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 75-79
dB(A)
คิดเป็นร้อยละ
0.81 ของพื้นที่ อยู่ระหว่าง 70-74
dB(A)
คิดเป็นร้อยละ
0.81 อยู่ระหว่าง 65-69
dB(A)
คิดเป็นร้อยละ
7.26 อยู่ระหว่าง 60-64
dB(A)
คิดเป็นร้อยละ
21.77 อยู่ระหว่าง 55-59
dB(A)
คิดเป็นร้อยละ

46.77 อยู่ระหว่าง 50-54
dB(A)
คิดเป็นร้อยละ
17.74 และอยู่ระหว่าง 65-69
dB(A)
คิดเป็นร้อยละ
4.84
ดังแสดงในตารางที่ 1 และรูปที่
2

เมื่อพิจารณาถึงลักษณะพื้นที่ที่ตรวจวัดสามารถแบ่งแยกประเภทของพื้นที่ ได้ดังนี้ สวนสาธารณะ คิดเป็นร้อยละ 0.81 สถานที่ทำงานคิดเป็นร้อยละ 4.88
ริมถนนคิดเป็นร้อยละ
4.07
โรงเรียนคิดเป็นร้อยละ 4.88
โรงงานอุตสาหกรรมคิดเป็นร้อยละ 8.91 ที่อยู่อาศัยคิดเป็นร้อยละ 75.61 และศาสนสถานคิดเป็นร้อยละ 1.63

ตารางที่
1 แสดงสัดส่วนของค่าระดับเสียงในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน
สุวรรณภูมิ




รูปที่ 1 แผนที่ระดับเสียงเฉลี่ย Leq 24 ชั่วโมง ของพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

    



รูปที่ 2 กราฟแสดงสัดส่วนของค่าระดับเสียงในพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

          

ตารางที่ 2 แสดงประเภทของจุดตรวจวัดระดับเสียงโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ





รูปที่
4 กราฟแสดงประเภทของจุดตรวจวัดระดับเสียงโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

4. สรุปผลการศึกษา


จากผลการตรวจวัดระดับเสียงและจัดทำแผนที่ระดับเสียง Leq

24
ชั่วโมง เฉลี่ยใน

7 วัน สรุปได้ว่าค่าระดับเสียงของพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานนานาชาติกรุงเทพสุวรรณภูมิมีค่าระดับเสียงส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระหว่าง 55-59
dB(A) โดยคิดเป็นร้อยละ 46.77 ของพื้นที่ที่ตรวจวัด( 124 ตารางกิโลเมตร)
ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นย่านที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับการใช้ที่ดินมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปเป็นโครงการบ้านจัดสรรเนื่องจากมีโครงการก่อสร้างขึ้นมากมายในระหว่างที่ทำการตรวจวัดสำหรับการศึกษาต่อไปจะเป็นการศึกษาเพื่อจัดทำแผนที่ระดับเสียงหลังจากที่ท่าอากาศยานเปิดดำเนินการเพื่อใช้แผนที่ดังกล่าวนี้เปรียบเทียบกับแผนที่ที่จัดทำขึ้นซึ่งจะทำให้ทราบว่ากิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงจากท่าอากาศยานมีผลต่อชุมชุนมากน้อยเพียงใดทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนในการกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการลดผลกระทบด้านเสียงจากท่าอากาศยานเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดีของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบท่าอากาศยานต่อไป

5. กิตติกรรมประกาศ


คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณท่านเจ้าของสถานที่ทุกท่านในความอนุเคราะห์สถานที่เพื่อติดตั้งเครื่องมือวัดระดับเสียง

6. เอกสารอ้างอิง
         1.บริษัท ท่าอากาศยานแห่งใหม่ จำกัด (NBIA), 2545 รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ฉบับสมบูรณ์,มกราคม
2545, หน้า 2-1.


2.บริษัท ท่าอากาศยานแห่งใหม่ จำกัด(NBIA),2548 รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มเติม ฉบับสมบูรณ์,มิถุนายน
2548, หน้า 5-22.

         3. กฤติกา,2547 Noise Descriptor สำหรับการตรวจวัดระดับเสียงจากเครื่องบิน,         เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรเทคนิคการประเมินค่าระดับเสียงจากการจราจรทางอากาศ, ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม, ปทุมธานี 26-30 กรกฎาคม 2547


         4. John and Howard, 2004
Aviation and Sustainability Stockholm Environment Institute (SEI) June ,2004
P.24


บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า