กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่
พลาสติก หมายถึง สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้น ใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นจะแข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิด
ก็แข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนล่อน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่างๆ เช่น เสื้อผ้า พาหนะ ส่วนประกอบของเรือ หรือ รถยนต์
       พลาสติกเป็นสารสังเคราะห์วิทยาศาสตร์ สังเคราะห์มาจากเซลลูโลส (Cellulos) ซึ่งมีอยู่ในธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ยางไม้ เซลลูโลสประกอบด้วย
ธาตุคาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และ คลอรีน นำมาสังเคราะห์โดยขบวนการ  "โพลิเมอร์ไรเซชั่น" ก็จะได้พลาสติก

พอลิเมอร์
      
คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วยหน่วยเล็กๆของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกัน
ด้วยพันธะโควาเลนต์
ประเภทของพลาสติก
      
พลาสติกแบ่งตามลักษณะ ของการถูกความร้อนได้ 2 ประเภท คือ
              1. เทอร์โมพลาสติก (Therinoplastic) เป็นชนิดที่ถูกความร้อนแล้วจะหลอมตัว กลายเป็นของเหลวได้ พลาสติกชนิดนี้มีโครงสร้างเป็นสายยาง
ทำให้ทนต่อแรงดึงได้สูง เช่น
                 1.1 โพลิธีน (Polythene) เป็นพลาสติกอ่อน สีขาวขุ่น อ่อนตัวได้ราคาไม่แพง ใช้ในท้องตลาดมากที่สุด เป็นฉนวนไฟฟ้า น้ำหนักเบาทำจาก
ก๊าซเอธิลีน เช่น ถุงบรรจุอาหาร ตุ๊กตาเด็กเล่น ฟิล์ม ถาดทำน้ำแข็ง เป็นต้น
                 1.2 โพลิไวนีล คลอไรด์ (Polyvinyl Chloride) หรือ P.V.C. ทำจากอะเซทีลีน กับกรดเกลือ โดยขบวนการโพลีเมอไรเซชั่น คุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถเป่าด้วยลมร้อน ให้ติดกันได้ทนต่อกรด แอลกอฮอล์ และพวกอัลคาไล P.V.C. มีทั้งแข็งและอ่อน ใช้ทำ ฉนวนหุ้มสายไฟ เสื้อกันฝน กระเบื้องยาง
เบาะเก้าอี้ ข้อเสียของ P.V.C. คือ ไม่ทนต่อความร้อน และแสงแดด
                 1.3 โพลิสไตลีน (Polysthylene) เป็นพลาสติกมีความใสเหมือนแก้ว ไม่มีสีและสามารถย้อมสีได้ เปราะมีคุณสมบัติทน กรด ด่าง และเกลือ ละลายได้ดีในเบนซิน และตัวทำละลายพวกออแกนนิค ผิวเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย ใช้ทำโฟม ไม้บรรทัด แปรงสีฟัน เป็นต้น
                 1.4 โพลิโปรไบลีน (Polypropylene) ทำจากก๊าซโปรเทน ใช้ทำถุงพลาสติกร้อน เชือกมัดของ กล่องแบตเตอรี่
                 1.5 ไนล่อน (Nylon) เป็นโพลิเมอร์ที่สมบรูณ์แบบที่สุด ทนต่อด่าง กรด อินทรีย์และสารละลายอินทรีย์ได้ดี แต่ไม่ทนต่อกรดแสงแดด และ
ความร้อน ใช้ทำผ้าร่ม ผ้าชนิดต่างๆ โดยผสมกับฝ้าย อวน ใบเรือ เชือก เป็นต้น
              2. เทอร์โมเซตติง (Thermosetting Plastic) เป็นพลาสติก ที่ถูกความร้อนแล้วไม่อ่อนตัว ได้แก่
                 2.1 ฟีโนล - เฟอร์มาดีไฮน์ เรซิน (Phenolformaldehyde resin) รู้จักกันดีในนามเบเคไลท์ (Bekelite) เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง Phonol
กับ formoldehyde ทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนคุณสมบัติ คือ แข็งทนต่อความร้อนใช้ทำฉนวนไฟฟ้า ตู้ วิทยุ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ
                 2.2 ยูเรีย - ฟอร์มาดีไฮด์เรซิน (Urea Formaldyhile Resin) เป็นปฏิกิริยาระหว่าง formaldyhile กับ Urea เป็นพลาสติกที่แตกง่ายมีสีขาวใส สามารถย้อมเป็นสีต่างๆ ได้ ไม่ทนต่อกรด ด่าง และแรงกระแทก ใช้ทำกาวไม้อัด ทำปุ่มจับด้ามเครื่องมือ เป็นต้น
                 2.3 เมลามีน - ฟอร์มาดีไฮด์ เรซิน (Malamin Formaldyhile Resin) เป็นปฏิกิริยาระหว่าง formaldyhide กับ Malamine ทนต่อความร้อนได้ถึง
250 ํ C ทนต่อสารละลาย และแรงกระแทก และรอยขีดข่วนต่างๆ ส่วนใหญ่ใช้ทำพลาสติกอย่างดีราคาแพง ฉนวนไฟฟ้า เป็นต้น
พอลิเอทิลีน (Polyethylene : PE)
           โดยทั่วไปแล้ว  พอลิเอทิลีน มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง  มีความลื่นมันในตัว เมื่อสัมผัสจึงรู้สึกลื่น หยุ่นตัวได้ ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส  ไม่ติดแม่พิมพ์  มีความเหนียว  ทนความร้อนได้ไม่มากนัก แต่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เป็นฉนวนไฟฟ้า ใส่สีผสมได้ง่ายมีความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำจึงลอยน้ำได้  เมื่อความหนาแน่นสูงขึ้นจะทำให้มีความแข็งและความเหนียวเพิ่มขึ้น  อุณหภูมิหลอมตัวสูงขึ้น และอัตราการคายก๊าซเพิ่มขึ้น  เมื่อความหนาแน่นลดลง จะทำให้อัตราการเสื่อมสลายของผิวเพิ่มขึ้น กล่าวคือผิวจะแตกรานได้ง่ายขึ้น

สมบัติทั่วไป
- ยืดหยุ่นได้ดี  เหนียวมากที่อุณหภูมิต่ำ
- มีความทนทานต่อสารเคมีได้ดีมาก
- ทนต่อสภาวะอากาศได้ดีพอสมควรอากาศสามารถซึมผ่านได้ดี
- หดตัวแม่พิมพ์ได้ดีมาก  ทำให้ถอดจากแม่พิมพ์ได้ง่าย
- เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก
- ผสมสีได้ง่าย  ทำให้ผลิตเป็นฟิล์มใส ฟิล์มสี  ฟิล์มโปร่งแสงหรือทึบแสงได้
- ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส
พอลิโพรไพลีน (Polypropylene : PP)
           พอลิโพรไพลีน  มีลักษณะขาวขุ่น  ทึบแสงกว่าพอลิเอทิลีน  มีความหนาแน่นในช่วง 0.890– 0.905 ด้วยเหตุนี้จึงสามารถลอยน้ำได้เช่นเดียวกันกับ
พอลิเอทิลีน  ลักษณะอื่น ๆ คล้ายกับพอลิเอทิลีน

สมบัติทั่วไป
- มีผิวแข็ง ทนทานต่อการขีดข่วนคงตัวไม่เสียรูปง่าย
- สามารถทำเป็นบานพับในตัว มีความทนทานมาก
- เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีมาก  แม้ที่อุณหภูมิสูง
- ทนทานต่อสารเคมีส่วนมาก  แต่สารเคมีบางชนิดอาจทำให้พองตัว หรืออ่อนนิ่มได้
- มีความเหนียวที่อุณหภูมิตั้งแต่ 105 องศาฟาเรนไฮต์ไปจนถึง 15 องศาฟาเรนไฮต์  (40  องศาเซลเซียส  ถึง -10 องศาเซลเซียส)     
  แต่ที่ 0 องศาฟาเรนไฮต์ จะเปราะ
- มีความต้านทานการซึมผ่านของไอน้ำและก๊าซได้ดี
- สามารถทนอุณหภูมิสูงที่ใช้ในการฆ่าเชื้อ  (Sterilization  :  100 ํC ) ได้
- ผสมสีได้ง่ายทั้งลักษณะโปร่งแสงและทึบแสง
พอลิสไตรีน (Polystyrene : PS)
         
เป็นพอลิเมอร์เก่าแก่ที่รู้จักกันมานานแล้ว  โดยทั่วไปสไตรีนพอลิเมอร์จะมีความแข็ง เปราะแตกรานได้ง่าย แต่สามารถทำให้เหนียวขึ้นได้ โดยการเติมยางสังเคราะห์ บิวทาไดอีนลงไปซึ่งเรียกว่า สไตรีนทนแรงอัดสูง  (High impact styrene)  การใช้สไตรีนเป็นโคพอลิเมอร์  (พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์  2  ชนิด)  เพื่อปรับปรุงคุณภาพและสมบัติของพอลิเมอร์อื่นให้ดีขึ้น  เมื่อรวมตัวกับพอลิเมอร์อื่นจะทำให้มีคุณสมบัติ
เปลี่ยนไป เช่น  มีความเหนียวและความแข็งเพิ่มขึ้น  ทนความร้อนเพิ่มขึ้น  อุณหภูมิจุดหลอมตัวสูงขึ้น

สมบัติทั่วไป
- มีความแข็ง  แต่เปราะแตกรานง่ายน้ำหนักเบา ราคาถูก
- ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น  มีความใส  ผิวเรียบ ใส่สีเติมแต่งได้ง่าย  และคงความโปร่งใสเช่นเดิม
- ทนทานต่อสารเคมีทั่วไป  แต่ไม่ทนต่อสารไฮโดรคาร์บอนและตัวทำละลายอินทรีย์
- เป็นฉนวนไฟฟ้า
- ไม่ดูดความชื้น  เกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่าย ทำให้ดูดฝุ่นละอองได้ดี
- การหดตัวสูงเมื่อเย็นตัว ทำให้ถอดจากแม่พิมพ์ได้ง่าย แต่อาจเสียรูปและขนาดไปบ้าง
- ไม่ทนต่อสภาพสิ่งแวดลอมภายนอกผิวเสื่อมสภาพเร็ว ไม่ทนต่อการถูกขีดข่วน
พอลิไวนิลแอซีเตต (Polyvinyacetate : PVA)
          เป็นพอลิเมอร์ที่มีแขนงหนาแน่น  มีลักษณะโมเลกุลแบบอะแทกติก  ไม่มีความเป็นผลึก  จึงมีลักษณะอ่อนนิ่มมากจนเป็นของเหลวข้นหนืด  สีขุ่นขาว  เมื่อแห้งจะใสเนื่องจากความอ่อนนิ่มจนมีลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด  จึงไม่สามารถหล่อขึ้นรูปด้วยวิธีแม่พิมพ์ใดๆ ได้

สมบัติทั่วไป
- อ่อนนิ่ม ง่ายต่อการทำเป็นอีมัลชัน
- อุณหภูมิของการหล่อแม่พิมพ์ต่ำ จึงไม่เหมาะที่จะหล่อขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์
- ไม่มีสี  ไม่มีกลิ่น  และไม่มีรส
- เมื่อแห้งจะมีความโปร่งใสมากขึ้น
- มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น
พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride : PVC)
          พอลิไวนิลคลอไรด์  เป็นพอลิเมอร์ที่สำคัญที่สุดในกลุ่มไวนิลด้วยกัน มักเรียกกันทั่วไปว่าพีวีซี  เนื้อพีวีซีมักมีลักษณะขุ่นทึบแต่ก็สามารถผลิตออกมา
ให้มีสีสันได้ทุกสีเป็นฉนวนไฟฟ้าอย่างดี ตัวมันเองเป็นสารที่ทำให้ไฟดับจึงไม่ติดไฟ  มีลักษณะทั้งที่เป็นของแข็งคงรูปและอ่อนนุ่มเหนียว เรซินมีทั้งที่
เป็นเม็ดแข็ง หรืออ่อนนุ่ม และเป็นผงจึงสามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง

สมบัติทั่วไป
- มีความแข็งแรงดี  ทนทานต่อสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อมปกติ
- ต้านทานต่อสารเคมีและน้ำ
- เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี
- สามารถผสมสีและแต่งสีได้อย่างไม่จำกัด
- สามารถเติมสารเติมแต่งต่างๆ เพื่อปรุงแต่งสมบัติของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่แข็ง และคงตัว จนถึงอ่อนนิ่ม และยืดหยุ่นมากๆ
- มีสมบัติอื่นๆ กว้างขวางและสามารถสลายตัวเอง
โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low density polyethylene : LDPE)
          เป็นโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (.910 - .925 g/cm3) ใช้ผลิตเป็นเครื่องบรรจุหีบห่อ เช่น ถุงเย็น ซองใส่อาหาร ทางด้านการเกษตรใช้ทำเป็น
โรงอบพลังแสงอาทิตย์ โรงเพาะชำ เมาท์ฟิล์มกันวัชพืช ท่อน้ำหยด ฟิล์มปูกันซึม เช่น บ่อน้ำ พื้นถนน ทางด้านงานฉีดจะทำเป็นพวกของเล่น ของใช้ในบ้านและทำเป็นฉนวนหุ้มสายไฟและสายเคเบิ้ลนอกจากนี้ยังใช้ทำวัสดุเคลือบผิวและใช้กับงานขึ้นรูปโดยการเป่าทำพวกขวดพลาสติกชนิด
บีบได้ ทางด้านความใส LDPF จะสู้ PP ไม่ได้ โดยเฉพาะวงการการ์เม้นท์ LDPE ยังไม่สามารถเข้าไปแทนที่ PP ได้ แต่บางชิ้นงานต้องการ
ความเหนียวและความคงทน มักจะใช้ LDPE แทน PP เพราะ PP กรอบแตกง่ายเมื่อใช้ไปนาน ๆ ทางด้านการเกษตรก็พบปัญหาการกรอบแตก
ของฟิล์ม PVC เมื่อโดนแสงแดดจึงหันมาใช้ LDPE แทน

คุณสมบัติ
- จุดหลอมเหลว Tm ประมาณ 115 ํC
- มีความเหนียวดี
- เฉื่อยต่อปฏิกิริยาเคมี
- ละลายได้ในตัวทำละลายชนิดที่อุณหภูมิ 100 ํC
- ทนกรด ด่าง ได้ดี
- ผิวหน้าไม่แข็ง โพลีเอทิลีนที่มีค่าความหนาแน่นสูง ( High density polyethylene : HDPE)
          เป็นโพลีเอทิลีนที่มีค่าความหนาแน่นสูง ซึ่งค่าความหนาแน่นของวัสดุนั้นต้องมีค่าไม่น้อยกว่า 0.950 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีอัตราการ
ไหลเมื่อหลอมเหลว (Melt Flow Rate) ของเนื้อวัสดุขณะหลอมเหลว หน่วยเป็นกรัมต่อ10 นาที  
คุณสมบัติ
- จุดหลอมเหลว Tm ประมาณ 130 ํC
- มีความทนต่อแรงดึงสูงกว่า LDPE
- เฉื่อยต่อปฏิกิริยาเคมี
- ละลายได้ในตัวทำละลายหลายชนิดที่อุณหภูมิ 100 ํC แต่จะละลายเล็กน้อยที่อุณหภูมิห้อง
- อุณหภูมิที่ใช้งานได้เป็นระยะนานๆ : Max 100 ํ C
- ทนกรด ด่าง ได้ดี
ไนลอน (Nylon)
           ไนลอนเป็นพอลิเมอร์ที่มีมานาน  คนไทยมักรู้จักไนลอนในรูปของเสื้อผ้า และเชือกไนลอน  ผลิตภัณฑ์ไนลอนที่นิยมใช้แพร่หลายมีหลายชนิด เช่น ไนลอน 4 ไนลอน6,6  ไนลอน 6,10  ไนลอน 10  และไนลอน 11

สมบัติทั่วไป
- มีสีขาวขุ่น โปร่งแสง
- สามารถผสมกับสีได้ดี
- หล่อลื่นในตัวเอง
- ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและน้ำมัน
- ไม่ทนทานต่อกรดเเก่
- ดูดความชื้น ทำให้เกิดการหดและยืดตัว
- เป็นฉนวนไฟฟ้า
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า