กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

จป.หัวหน้างาน จป.บริหาร มีหน้าที่อะไร

         จป.หัวหน้างานและจป.บริหาร คือใคร?           

           จป.บริหาร หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร หมายถึง ลูกจ้างซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีระดับสูงกว่าหัวหน้าหน่วยงานขึ้นไปไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม
        กิจการประเภทใดที่ต้องมี จป.หัวหน้างานและจป.บริหาร?         
         ตามที่กระทรวงแรงงานได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดลอมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙

ประเภทกิจการหรือสถานประกอบกิจการที่อยู่ในข่ายบังคับ กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้แก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้
                           
๑ การทําเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
                           
๒ การทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทําให้เสีย หรือทําลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กําเนิด แปลง และ
จ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
                           
๓ การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เ รือ สะพานเทียบเรือทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือ
วางรากฐานของการก่อสร้าง
                           
๔ การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุก
ขนถ่ายสินค้า
                           
๕ สถานีบริการหรือจําหน่ายน้ํามันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
                           
๖ โรงแรม
                           
๗ ห้างสรรพสินค้า
                           
๘ สถานพยาบาล
                           
๙ สถาบันทางการเงิน
                           
๑๐ สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
                           
๑๑ สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
                           
๑๒ สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
                           
๑๓ สํานักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตามข้อ ๑ ถึง ข้อ ๑๒
                           
๑๔ กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนด

         จป.หัวหน้างานและจป.บริหาร มีหน้าที่?         
            หน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
                  (๑) กํากับ ดูแล ให้ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วย
ความปลอดภัยในการทํางาน
                  
(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้น โดยอาจร่วมดําเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับ
วิชาชีพ
                  
(๓) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแกลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใหเกิดความ
ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
                  
(๔) ตรวจสอบสภาพการทํางาน เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่
ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจําวัน
                  
(๕) กํากับ ดูแล การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบ
                  
(๖) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจาหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สําหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัยใหแจ้งตอหน่วยงานความ
ปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
                  
(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรําคาญอันเนื่องจากการทํางานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผล รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างโดยไม่
ชักช้า
                  
(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทํางาน
                  
(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทํางานอื่นตามที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารมอบหมาย

หน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
                  
(๑) กํากับ ดูแล เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชา
ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
                  
(๒) เสนอแผนงานโครงการด้านความปลอดภัยในการทํางานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ต่อนายจ้าง
                  
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดําเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางานให้เป็นไปตามแผนงานโครงการเพื่อให้มีการจัดการดานความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสมกับสถาน
ประกอบกิจการ
                  (๔) กํากับ ดูแล และติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน คณะกรรมการหรือหน่วยงานความปลอดภัย

อ้างอิงจาก >>   กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า