กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง

สภาพสังคมปัจจุบัน มีการนำเครื่องจักร รถยนต์
มาใช้อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิต
กันอย่างกว้างขวาง เช่นการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม การคมนาคม เครื่องจักร
รถยนต์ เหล่านี้ แม้จะช่วยอำนวยความสะดวก แต่เสียงที่ดังจากการทำงานของเครื่องจักร เครื่องยนต์
ส่งผลกระทบต่อผู้สัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน ๆ

เช่น ตำรวจจราจร
พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
ซึ่ง เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย
คือ
ความสามารถในการได้ยินลดลง( หูเสื่อม ) และทางจิตใจ คือ โรคเครียด โรคความดันโลหิตสูง



วิธีการป้องกันเสียงดังมี 3 แบบหลักได้แก่


1. ป้องกันที่แหล่งกำเนิด เช่น การเปลี่ยนระบบการทำงานของแหล่งกำเนิด
การใช้วัสดุครอบแหล่งกำเนิด

เป็นต้น
2. ป้องกันที่ทางเดินของเสียง เช่น การติดตั้งกำแพงกั้นเสียง การทำให้ระยะทางระหว่างแหล่งกำเนิดและผู้รับเสียงเพิ่มขึ้น
เป็นต้น


3. ป้องกันที่ผู้รับเสียง โดยการใช้อุปกรณ์
ที่ครอบหู (Ear muffs) หรือที่อุดหู
(Ear plugs) เป็นต้น


การเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณที่มี
ลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เกิดปัญหา
ลักษณะของปัญหาที่เกิด

ในกรณีของการป้องกันที่ผู้รับเสียง
การเลือก
อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่ครอบหู (Ear muffs) หรือที่อุดหู
(Ear plugs) มาใช้ป้องกันเสียง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่น
แต่ควรมีหลักในการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับสภาวะทางเสียงในขณะนั้นเพราะถ้าเลือกซื้อไม่ถูกต้องอุปกรณ์ก็จะป้องกันเสียงได้ไม่มากหรือป้องกันไม่ได้เลย


ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันเสียง
    แบ่งออกเป็น
2 ประเภทได้แก่

1.
ที่ครอบหู (ear muff)
ลดเสียงได้ตั้งแต่ 30-40 dB
ลดเสียงที่ความถี่สูงกว่า 400 Hz ได้ดี มี 2 ชนิด คือ แบบที่เป็นโลหะและที่เป็นพลาสติก


         


2.
ที่อุดหู
(ear plugs)
ลดเสียงได้ตั้งแต่ 15-25dB
ลดเสียงที่มีความถี่ต่ำกว่า 400 Hz ได้ดี ทำจากวัสดุหลายชนิด เช่น โฟม ใยหิน ใยแก้ว ฯลฯ


                     


การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง


การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆเหล่านี้

1.ไม่เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมที่กระทำ
2.ไม่เป็นอุปสรรคต่อการสนทนาหรือสื่อสาร
3. ระดับเสียงที่ต้องการลด และ ความสามารถลดระดับเสียงของอุปกรณ์

ความสามารถในการลดเสียงของอุปกรณ์ป้องกันเสียง
   

การที่จะทราบว่าอุปกรณ์ป้องกันเสียงจะลดระดับเสียงได้กี่เดซิเบลสามารถหาได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

ระดับเสียงที่ได้รับขณะใส่อุปกรณ์
=
ระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ -
derated NRR* - Co


* derated
NRR (Noise Reduction Rating)
=

NRR - (K x NRR)/100


โดยค่า NRR(Noise Reduction Rating) คือค่าความสามารถในการลดเสียงของอุปกรณ์ซึ่งระบุจากโรงงาน ซึ่งค่านี้ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

ค่า K คือเปอร์เซ็นต์ของ NRR ที่ใช้ลบกับ NRR

ซึ่ง National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH) ได้แนะนำความสามารถของอุปกรณ์แต่ละชนิดในการลดระดับเสียง ( ค่า K ) ไว้ดังนี้


K = 25 กรณีอุปกรณ์เป็น
ที่ครอบหู

K = 50 กรณีอุปกรณ์เป็น
ที่อุดหูทำจากโฟม

K = 70 กรณีอุปกรณ์เป็น
ที่อุดหูทำจากวัสดุอื่นๆสำหรับค่า
Co จะขึ้นอยู่กับช่วงความถี่ของเสียงที่ได้ยิน (Frequency) ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งเป็นช่วง ได้ดังนี้

Co = 0
กรณีระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ มีความถี่ของเสียง ในช่วงความถี่ C

Co = 7
กรณีระดับเสียงก่อนใส่อุปกรณ์ มีความถี่ของเสียง ในช่วงความถี่ A ซึ่งเป็นความถี่ที่มนุษย์ได้ยิน
อุปกรณ์ป้องกันเสียงสามารถลดเสียงที่สัมผัสกับหูได้อย่างไร
ผู้ผลิตจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของอุปกรณ์ป้องกันเสียงในการลดเสียงเป็น NRR (อัตราการลดลงของเสียง) The NRR
ยึดหลักจากเสียงที่ลดลงซึ่งวัดได้ในห้องทดลอง

การใช้อัตราการลดลงของเสียง (NRR)ในการพิจารณาถึงการป้องกันที่ได้รับจากอุปกรณ์ป้องกันเสียงถ้าไม่มีข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ NIOSH แนะนำให้จัดอัตราการป้องกันเสียงโดยใช้ปัจจัยซึ่งตรงกับข้อมูลจริง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NIOSH แนะนำให้ติดอัตราการลดลงของเสียงโดยใช้อัตราดังนี้:
·
ที่ปิดหู
ลบ 25% จากอัตราที่ผู้ผลิตแจ้งไว้

·
ปลั๊กอุดหูที่หล่อขึ้นมาเฉพาะ
ลบ 50% จากอัตราที่ผู้ผลิตแจ้งไว้

·
ปลั๊กอุดหูประเภทอื่นๆ
ลบ 70% จากอัตราที่ผู้ผลิตแจ้งไว้
1. ถ้าระดับเสียงเป็นหน่วย dBC ระดับเสียงประเภท A คิดได้จาก:
ENL [dB(A)] = ระดับเสียงในที่ทำงานเป็น dBC – อัตราการลดลงของเสียง
2. ถ้าระดับเสียงเป็นหน่วย dB(A ) ระดับเสียงประเภท A คิดได้จาก:
ENL = ระดับเสียงในที่ทำงานเป็น dB(A) - (อัตราการลดลงของเสียง -7)
นอกจากนี้ยังมีอัตราที่เป็นตัวเลขเดี่ยวอีกด้วย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมอ้างอิงได้จาก Canadian Standard CSA Z94.2 – 2002 โดยอัตราที่เป็นเลขตัวเดียวดูได้จากการวัดการลดลงของการได้ยินจริงเรียกกันว่า อัตราเลขตัวเดียวใช้ตัวย่อคือ SNR (SF 84) (สำหรับรายละเอียดดูได้จาก ANSI Standard S12.6). "SF 84" แสดงให้เห็นว่า 84% ของผู้ใช้ในแผนการป้องกันการได้ยินที่ดีนั้นคาดหวังการป้องกันไม่มากนัก
อัตราเลขตัวเดียว(SNR)คืออะไร
SNR (Single Number Rating)คือระบบอัตราเลขตัวเดียวที่พิจารณาตามมาตรฐานสากล ISO 4869 ทำการทดสอบโดยห้องทดลองทางพาณิชย์ที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต เช่นเดียวกับ NRRs, SNRs มีหน่วยวัดเป็น dB's และถูกใช้เป็นแนวทางในการเปรียบเทียบความสามารถในการลดลงของเสียงของอุปกรณ์ป้องกันชนิดต่างๆ
เนื่องจากวิธีการในการวัด NRRs และ SNRs นั้นแตกต่างกัน
ค่าของ NRR SNR สำหรับอุปกรณ์ป้องกันแต่ละอย่างจึงต่างกันด้วย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก Canadian Standard CSA Z94.2-02 หรือ American Standard ANSI S12.6

ข้อดีและข้อจำกัดของปลั๊กอุดหูและที่ปิดหู
การใช้ปลั๊กอุดหูและที่ปิดหูมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ปลั๊กอุดหูสามารถที่จะผลิตทีละมากๆหรือผลิตโดยทำแม่พิมพ์ให้พอดีกับหูที่ละชิ้นและ สามารถที่จะนำมาใช้ใหม่หรือใช้แล้วทิ้ง
ผลดีก็คือ ใช้ง่าย ถูกกว่าที่ปิดหู และใช้สบายในบริเวณที่มีอากาศร้อนหรือชื้น
ผลเสีย ก็คือให้การป้องกันได้น้อยกว่าที่ปิดหูและไม่ควรใช้ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกิน 105 dB(A) (เดซิเบลประเภทA)


การใส่ปลั๊กอุดหูไม่สามารถมองเห็นได้อย่างที่ปิดหู และหัวหน้างานไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าพนักงานสวมอยู่หรือไม่
ต้องมีการใส่อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะป้องกันได้อย่างเพียงพอ



ที่ปิดหูนั้นแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้และความลึกของที่ครอบ และความแน่นของสายคาดศีรษะ
ยิ่งฝาครอบมีความลึกและหนักเท่าใด ก็จะสามารถทำการป้องกันเสียงได้มากเท่านั้น
สายคาดศีรษะต้องแน่นพอที่จะทำการปิดหูได้อย่างดีแต่ไม่แน่นจนรู้สึกไม่สบาย
ผลดีก็คือที่ปิดหูสามารถให้การป้องกันได้ดีกว่าปลั๊กอุดหูถึงแม้ว่าจะไม่เสมอไป
ใส่ให้พอดีได้ง่ายกว่า ทนทานกว่าปลั๊กอุดหู และมีชิ้นส่วนที่สามารถซ่อมแซมได้
ผลเสียก็คือ แพงกว่า ใส่สบายน้อยกว่าปลั๊กอุดหู โดยเฉพาะในบริเวณที่มีอากาศร้อน
ในบริเวณที่มีระดับเสียงสูงมากๆ สามารถที่จะใส่ปลั๊กอุดหูและที่ปิดหูพร้อมกันเพื่อการป้องกันที่ดีกว่า
ตารางต่อไปนี้แสดงถึงความแตกต่างระหว่างปลั๊กอุดหูและที่ปิดหู

ข้อเปรียบเทียบของอุปกรณ์ป้องกันเสียง



ปลั๊กอุดหู



ที่ปิดหู


  • ข้อดี

    เล็กและพกพาง่าย
  • ใช้กับอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆได้สะดวก



    (
    สามารถใส่กับที่ปิดหูได้)
  • ใส่ในบริเวณที่ร้อนและชื้นได้สบายกว่า
  • ใช้สะดวกในบริเวณที่มีที่จำกัด
ข้อดี

  • การลดลงของเสียงแตกต่างกันไปตามแต่ผู้ใช้
  • ออกแบบมาให้พอดีสำหรับศีรษะทุกขนาด
  • มองเห็นได้ง่ายจากระยะไกลเพื่อช่วยในการตรวจสอบการใช้งาน
  • ทำหายหรือวางผิดที่ได้ยาก
  • เกิดการติดเชื้อที่หูได้น้อย

ผลเสีย

  • ใช้เวลานานกว่าในการใส่
  • ใส่และถอดได้ยากกว่า
  • ต้องมีการปฏิบัติอย่าถูกสุขลักษณะ
  • อาจทำให้ระคายเคืองช่องหู
  • ทำหายได้ง่าย
  • มองเห็นและตรวจสอบการใช้งานได้ยาก
ผลเสีย

·
หนักกว่าและพกพาไปได้ยากกว่า
·
ไม่สะดวกเมื่อใช้กับอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ

ใส่ไม่สบายในพื้นที่ทำงานที่ร้อนและชื้น

ไม่สะดวกเมื่อใช้ในพื้นที่ทำงานที่จำกัด

·
อาจจะเกะกะเมื่อใส่แว่นเซฟตี้ การใส่แว่นทำให้ที่ปิดหูและผิวหนังไม่แนบกันทำให้ความสามารถในการป้องกันเสียงลดลง


ตัวอย่าง การเลือกอุปกรณ์ป้องกันเสียง
  


มีอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่มีป้ายแสดงค่า

NRR
ดังรูป วัดเสียงเครื่องจักร ได้ 95 dB(A)อยากทราบว่าควรใส่
อุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดใดเพื่อให้ได้รับเสียงรับเสียงจากเครื่องจักรไม่เกิน 70
dB(A)

วิธีทำ
เสียงที่ตรวจวัดได้ก่อนใส่อุปกรณ์เป็น 95 dB(A)

กรณีที่อุปกรณ์เป็นที่ครอบหู


NRR = 29
K = 25
Co = 7
Derated NRR =29 - (25x29)/100 =
21.75

เสียงที่ได้รับขณะใส่ที่ครอบหู = 95 - 21.75 - 7 = 66 dB(A)

กรณีที่อุปกรณ์เป็นที่อุดหูที่ทำจากโฟม


NRR = 25
K = 50
Co=7
Derated NRR = 25 - (50x25)/100 = 12.5
เสียงที่ได้รับขณะใส่ที่อุดหู = 95-12.5-7 = 75.5 dB(A)
นั่นคือ เหตุผลที่สมควรเลือก ที่ครอบหู  

ข้อมูลจาก thai-safetywiki      




บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า