คุณกำลังอยู่ที่หน้า: หน้าแรก > Promotion > อุปกรณ์ความปลอดภัยในการทำงาน

รายการสินค้า

1.อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
- หมวกนิรภัยและกระบังหน้า
- อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
- อุปกรณ์อุดหูและที่ครอบหูลดเสียง
- อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
- อุปกรณ์ป้องกันมือ
- อุปกรณ์และชุดป้องกันความร้อน
- อุปกรณ์และชุดป้องกันสารเคมี
- อุปกรณ์ป้องกันหลังและการตกจากที่สูง
- รองเท้าเซฟตี้ safety shoes
2.อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย
- สลิงและสายรัดโพลีเอสเตอร์ Ribbon
- วัสดุดูดซับสารเคมี
- Safety Cabinet ตู้เก็บสารเคมี
- อุปกรณ์ล้างตัวและล้างตาฉุกเฉิน
- คัทเตอร์นิรภัย Martor
- ไฟฉุกเฉินและโคมไฟป้ายทางออก
- ไฟฉายนิรภัย Pelican
- อุปกรณ์ล็อคนิรภัย Brady
- อุปกรณ์ดับเพลิง
- ป้ายและอุปกรณ์จราจร
- อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอื่นๆ
3.CLEANROOM_ESD-PRODUCTS

ดาวน์โหลด CATALOG

โปรโมชั่น รองเท้าเซฟตี้

safety shoes safety footwear safetyshoe safetyfootwear รองเท้าเซฟตี้

สินค้าแนะนำ

อุปกรณ์ความปลอดภัยในการทำงาน อุปกรณ์ความปลอดภัย / 2012-08-28

 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานในโรงงานคือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีความ เสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายในการทำงาน  หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอก็จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบ  

และเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง
        นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง เสียง สิ่งเหล่านี้หากมีความบกพร่องและผิดมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นความพอใจอย่างหนึ่ง
ที่ทุกฝ่ายควรมีแก่กัน ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการทำงาน เราควรฝึกเสียตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีความรู้และความเข้าใจแล้วนั่น หมายความว่าตลอดชีวิตของการทำงานจะไม่ประสบอันตราย
        ความปลอดภัยในการทำงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ ปฏิบัติงาน  ซึ่งก็คือสภาพการทำงานให้ถูกต้องโดยปราศจาก "อุบัติเหตุ" ในการทำงาน
        อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมายและเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย  หรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ
 
        1. อุบัติเหตุกับการทำงาน
 
 
รูปที่ 1  อุบัติเหตุกับงานมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
                                                 
        อุบัติเหตุและการทำงานมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันเสมอ กล่าวคือ ในขณะที่เราทำงานนั้นจะมีอุบัติเหตุแอบแฝงอยู่ 
และเมื่อใดที่เราประมาทอุบัติเหตุก็พร้อมที่จะเกิดขึ้นทันที การเกิดอุบัติเหตุนั้นมักจะมีตัวการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
       
        1.1 ตัวบุคคล คือ ผู้ประกอบการงานในหน้าที่ต่าง ๆ และเป็นตัวสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
       
        1.2 สิ่งแวดล้อม  คือ ตัวองค์การหรือโรงงานที่บุคคลนั้นทำงานอยู่
       
        1.3 เครื่องมือ เครื่องจักร คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
 
        2. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
 
        2.1 สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย อันได้แก่ การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ในการทำงานที่เสื่อมคุณภาพ พื้นที่ทำงานสกปรกหรือเต็มไปด้วยของที่รกรุงรัง ส่วนเคลื่อนไหวของเครื่องจักรไม่มีที่กำบังหรือป้องกันอันตราย การจัดเก็บสิ่งของไม่เป็นระเบียบ เป็นต้น
 
 
รูปที่ 2 การระบายอากาศไม่เพียงพอ                  
 
 
                                      
รูปที่ 3 พื้นลื่น หรือสถานที่ทำงานสกปรก
 
        2.2 การกระทำที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำ ที่ไม่ปลอดภัยอันได้แก่
        - สาเหตุที่คนกระทำการอันไม่ปลอดภัย เพราะ
        1. ไม่มีความรู้เพียงพอ  จึงทำงานแบบลองผิดลองถูก
        2. ขาดการฝึกอบรมหรือชี้แนะในสิ่งที่ถูกต้องในการทำงาน
        3. มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการรักษาความปลอดภัย
        - คนเรากระทำการอันไม่ปลอดภัยได้ เพราะ
        1. ไม่ทราบแน่ชัด
        2. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
        3. ประมาท เลินเล่อ
        4. เจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย
        5. อารมณ์ไม่ปกติ เช่น กำลังโกรธเพื่อนร่วมงาน
        6. รีบร้อนเพราะงานต้องการความรวดเร็ว
 
                           
รูปที่ 4 การเก็บเครื่องมือที่ไม่เป็นระเบียบ
 
                            
รูปที่ 5 ขาดความระมัดระวัง เหม่อลอย                                                                                                    
 
การเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพต้องยึดหลัก 3E ได้แก่  
        1. Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
        2. Education (การศึกษา)
        3. Enforcement  (การออกกฎบังคับ)
 
E  ตัวแรก คือ Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) คือ การใช้ความรู้ทางวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ในการคำนวณ  และ
ออกแบบเครื่องมือที่มีสภาพการใช้งานที่ปลอดภัยที่สุด การติดตั้งเครื่องป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนที่เคลื่อนไหวหรืออันตรายของเครื่องจักร การวางผังโรงงาน ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง เสียง การระบายอากาศ เป็นต้น
E  ตัวที่สอง คือ Education (การศึกษา) คือ การให้การศึกษา หรือการฝึกอบรมและแนะนำคนงาน หัวหน้างาน ตลอดจนผู้ที่ เกี่ยวข้องในการทำงาน ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุและการเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงงาน ให้
รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นและป้องกันได้อย่างไร และจะทำงานวิธีใดจึงจะปลอดภัยที่สุด เป็นต้น
E  ตัวสุดท้าย คือ Enforcement (การออกกฎข้อบังคับ) คือ การกำหนดวิธีการทำงานอย่างปลอดภัยและมาตรการควบคุม
ให้คนงานปฏิบัติตาม เป็นระบบระเบียบปฏิบัติที่ต้องประกาศให้ทราบทั่วกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงโทษ เพื่อให้เกิดความสำนึก และหลีกเลี่ยงการทำงานที่ไม่ถูกต้องหรือเป็นอันตราย
        ในการป้องกันอุบัติเหตุควรเน้นทั้ง 3E พร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะตัวที่ 2 Education เพราะจะทำให้พนักงานรู้วิธีการทำงาน
ที่ปลอดภัย การป้องกันอุบัติเหตุมีขั้นตอนและระดับการปฏิบัติการหลายระดับ ดังนี้
        1. การจัดวางผังโรงงานให้ปลอดภัย
        2. การจัดระบบและกระบวนการทำงานที่ปลอดภัย
        3. การทำให้เครื่องจักรกลมีความปลอดภัย
        4. การออกแบบลักษณะการทำงานที่ปลอดภัย
        5. การอบรมวิธีการทำงานที่ปลอดภัยแก่คนงาน
        6. การปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ปลอดภัย ฯลฯ
        จากทั้ง 6 ระดับพบว่า ระดับที่ 1-5 อยู่นอกเหนือวิสัยคนธรรมดา ไม่มีอำนาจ สติ ปัญญาทำได้ ระดับ 6 เท่านั้นที่คนงานมี
สิทธิทำได้เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองเป็นสำคัญ และเป็นการลดความสูญเสียทุก ๆ รูปแบบได้อย่างดี                                                                            
 
        3.  ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน                                               
       
        3.1 ความปลอดภัยเกี่ยวกับตัวผู้ปฏิบัติงาน                          
       
        3.1.1 การแต่งกาย
        - เครื่องแบบที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักร คือ เสื้อและกางเกงที่เป็นชิ้นเดียวกันซึ่งอยู่ในสภาพที่เรียบร้อย เสื้อผ้าที่ฉีกขาดไม่ควรนำมาใช้ เพราะจะทำให้เข้าไปติดกับเครื่องจักรที่กำลังหมุนได้
        - ติดกระดุมทุกเม็ดให้เรียบร้อย
        - ไม่ควรใส่เครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ นาฬิกา แหวน
        - ต้องใส่รองเท้าหุ้มส้น  หรือรองเท้าบู๊ทเพื่อป้องกันเศษโลหะทิ่มตำ
        - ควรสวมแว่นตาเพื่อป้องกันเศษโลหะกระเด็นเข้าตา เช่น การเจียระไนงาน หรือแสงจากการเชื่อมโลหะ
        - ควรสวมหมวกในกรณีที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเคมี
        - ไม่ควรไว้ผมยาวหรือมิฉะนั้นควรสวมหมวก
        - สภาพการทำงานที่มีเสียงดังควรสวมที่ครอบหู
  
                                            
รูปที่ 6 การแต่งกาย
 
 
รูปที่ 7 การแต่งการยของผู้ชาย                        
                                          
 
 
รูปที่ 8 การแต่งกายของผู้หญิง
 
        3.1.2 ความประพฤติตนโดยทั่วไป
        - การเดินไป-มาในโรงงานควรระมัดระวังอยู่เสมอ
        - ไม่ทดลองใช้เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต
        - ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันขณะปฏิบัติงาน จะก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่ง
        - ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยในโรงงานโดยเคร่งครัด
 
 
                          
รูปที่ 9 การเดินไป-มาในโรงงานควรระมัดระวังอยู่เสมอ
 
 
รูปที่ 10 ไม่ทดลองใช้เครื่องจักรก่อนได้รับอนุญาต
 
                    
                         
รููปที่ 11 ไม่หยอกล้อกันหรือเล่นกันขณะปฏิบัติงาน               
 
 
รูปที่ 12 ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยของโรงงานอย่างเคร่งครัด
 
        3.2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องมือ  เครื่องจักร                                  
        ในโรงงานอุตสาหกรรมมีเครื่องมืออยู่หลายชนิดที่ต้องใช้ให้ถูกวิธี และให้เหมาะสมกับงานเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านั้น ได้แก่ ค้อน ไขควง คีม ตะไบ เลื่อย อุปกรณ์ร่างแบบต่าง ๆ เช่น เหล็กขีด วงเวียน ฯลฯ  
เครื่องจักรกลจัดเป็นเครื่องทุ่นแรง สามารถช่วยให้ทำงานได้ตามความต้องการ ประหยัดเวลา แรงงานและทำงานได้มากมาย
หลายอย่างในขณะเดียวกันถ้าไม่รู้จักใช้ อันตรายจากเครื่องจักรก็มีมากพอ ๆ กับประโยชน์ของเครื่องจักรนั่นเอง และในการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร สิ่งที่ควรพึงระมัดระวังในการปฏิบัติงานควรปฏิบัติดังเรื่องต่อไปนี้
        - การถือเครื่องมือที่มีคมควรให้ปลายชี้ลงด้านล่าง หรือหาของหุ้มปิดเสีย เช่น วงเวียน เหล็กขีด อย่าเก็บหรือพกไว้ใน
กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง
        - การทำงานบนที่สูงต้องผูกมัดหรือเก็บเครื่องมือให้ปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้หล่นลงมาโดนคนที่อยู่ข้างล่างได้
        - เมื่อจะเดินเครื่องจักร ผู้ใช้ต้องรู้เสียก่อนว่าจะหยุดเครื่องอย่างไร
        - การเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องจักรหรือเปลี่ยนสายพาน เฟือง จะต้องหยุดเครื่องและตัดสวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง
        - อย่าพยายามหยุดเครื่องด้วยมือหรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
        - พึงระวังส่วนประกอบของเครื่องจักรที่อาจจะเป็นอันตรายได้ เช่น เฟือง สายพาน มีดกัดต่าง ๆ จะต้องมีฝาครอบ
หรือเครื่องป้องกันเอาไว้
        - ต้องตรวจดูชิ้นงานหรือใบมีดกัดต่าง ๆ จะต้องยึดแน่นและถูกต้องก่อนทำงานเสมอ
        - เมื่อปฏิบัติงานเสร็จแล้วต้องตัดสวิตช์ไฟฟ้าออกทุกครั้ง
 
 
                            
รูปที่ 13 ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ชำรุด                                           
 
 
รูปที่ 14 การทำงานบนที่สูงต้องผูกมัดหรือเก็บเครื่องมือให้ปลอดภัย 
 
                            
รูปที่ 15 การเปลี่ยนความเร็วรอบของเครื่องจักร  หรือเปลี่ยนสายพานเฟืองจะต้องหยุดเครื่องและสวิตช์ออกก่อนทุกครั้ง
 
 
รูปที่ 16 อย่าหยุดเครื่องด้วยมือหรือร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
 
 
รูปที่ 17 ก่อนใช้เครื่องจักรต้องแน่ใจว่ามีเครื่องป้องกันอันตรายอยู่
 
        3.3 ความปลอดภัยเกี่ยวกับการยกและถือของ                      
        - การยกของหนักอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ควรช่วยกันหรือใช้เครื่องมือยก และเมื่อยกของหนัก ๆ จากพื้น อย่าใช้
หลังยก ให้ใช้กล้ามที่ขายกแทน
        - การยกของควรใช้กำลังกล้ามเนื้อที่ต้นขายก โดยยืนในท่าที่จะรับน้ำหนักได้สมดุลย์ คือ งอเข่า หลังตรง ก้มหน้า จับของ
ให้แน่นแล้วยืดขาขึ้น
        - พยายามหลีกเลี่ยงการยกของมีคม
        - เมื่อยกขึ้นแล้วก่อนจะเดินจะต้องมองเห็นข้างหน้าและข้าง ๆ รอบตัว
                                  
     
รูปที่ 18 ขั้นตอนการยกและวางของที่ถูกวิธี
 
        3.4 ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า
 
        3.4.1 ข้อควรระวังในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป
        - เมื่อพบว่าฝาครอบ หรือกล่องสวิตช์ชำรุด หรือตกเสียหาย ควรรีบเปลี่ยนและซ่อมแซมทันที  
        - รักษาความสะอาดของพื้นบริเวณที่ซึ่งสวิตช์อยู่ใกล้ ๆ
        - หมั่นสำรวจตรวจตราภายในแผงสวิตช์ ตู้ควบคุมทางไฟฟ้า ไม่ให้มีเศษผงทองแดงหรือโลหะที่นำไฟฟ้าอยู่และอย่านำ
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุม เช่น ฟิวส์ ออกจากตู้ควบคุม
        - การเปลี่ยนฟิวส์ ควรใช้ฟิวส์เฉพาะงานนั้น ๆ และก่อนเปลี่ยนต้องสับสวิตช์ (ให้วงจรไฟฟ้าเปิดให้เรียบร้อยก่อน)
        - อย่าใช้ฝาครอบที่ทำด้วยสารที่สามารถลุกติดไฟได้ เปิดฝาครอบสวิตช์
        - สวิตช์แต่ละอันควรมีป้ายแสดงรายละเอียดดังนี้
            * ใช้กับกระแสไฟตรง  หรือกระแสสลับ
            * ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (หรือแรงดัน/แรงเคลื่อนไฟฟ้า)
            * กระแสไฟฟ้า
            * เครื่องมือเครื่องใช้ทางไฟฟ้าที่ต่อกับสวิตช์นั้น
            * ชื่อผู้รับ
        - ต้องสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด เมื่อต้องการตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องจักรแล้วให้ทำสัญลักษณ์หรือป้ายที่สวิตช์
ว่า "กำลังซ่อม"
        - ก่อนสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าปิด ต้องแน่ใจว่าทุกอย่างเรียบร้อยและได้รับสัญญาณถูกต้อง และก่อนเปิดทดลองเดิน
เครื่องควรตรวจดูว่าเครื่องจักรนั้นไม่มีวัตถุอื่นใดติดหรือขัดอยู่
        - การส่งสัญญาณเกี่ยวกับเปิด-ปิดสวิตช์ ควรทำด้วยความระมัดระวัง
        - อย่าปิด-เปิดสวิตช์ขณะมือเปียกน้ำ
        - การสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าปิดต้องแน่ใจว่าสัญญาณนั้นถูกต้อง
        - การขันสลักเกลียวเพื่อยึดสายไฟฟ้า ต้องขันให้แน่น
        - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดอย่าฝืนใช้งานจะเกิดอันตรายได้
                                  
 
รูปที่ 19 แสดงการชำรุดของเครื่องใช้ไฟฟ้า
 
        3.4.2 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้สวิตช์ตัดตอน
        - ที่ใช้งานกับส่วนที่อาจเกิดอันตรายสูง ผู้รับผิดชอบต้องหมั่นตรวจดูและทำป้ายบอก
        - ในกรณีมีการตรวจซ่อมแซมเครื่องจักร ต้องทำป้ายหรือสัญลักษณ์ติดแขวนไว้ที่สวิตช์ว่า "อยู่ระหว่างการซ่อมแซม"
หรือ "กำลังซ่อม" เมื่อเสร็จจึงนำป้ายออก
        - การใช้สวิตช์ควบคุมเครื่องจักรที่ใช้ร่วมกันหลาย ๆ คน ควรมีหลักเกณฑ์หรือสัญญาณในการปฏิบัติเป็นมาตรฐาน
เดียวกัน
        - การทำงานร่วมกันระหว่างคนงาน 2 กลุ่ม กลุ่มที่ใช้เครื่องจักรร่วมกันจะต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะกรณีถ้า
เกิดมีการตรวจซ่อม  ต้องมีการติดต่อประสานงานกับช่างเป็นอย่างดีก่อนที่จะมีการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า
 
        3.4.3 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้า
        - ตรวจสอบสายไฟฟ้า ถ้าพบว่าชำรุดให้ใช้เทปพันเป็นฉนวนหุ้มให้เรียบร้อย และตรวจจุดต่อสายไฟให้เรียบร้อยด้วย
        - อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เคลื่อนย้ายได้ ควรตรวจสอบบริเวณข้อต่อ ขั้วที่ติดอุปกรณ์ สายไฟฟ้าอย่างระมัดระวัง ถ้าพบว่าชำรุด
รีบเปลี่ยนให้อยู่สภาพดี
        - หมั่นตรวจสอบเครื่องมือไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้ายได้ ต้องมีฝาครอบป้องกันหลอดไฟฟ้า
        - การเปลี่ยนหรือซ่อมแซมเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ถึงเป็นกรณีเล็กน้อย ควรให้ช่างไฟฟ้าเป็นผู้ดำเนินการ
        - อย่า ! สับสายไฟฟ้าขณะที่มีกระแสไหลอยู่
        - อย่าแขวนหรือห้อยสายไฟบนของมีคม เช่น ใบมีด ใบเลื่อย ใบพัด
        - การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เช่น มอเตอร์ หม้อแปลง ควรมีผู้รับผิดชอบในการควบคุมในการปิด-เปิด  
        - ในส่วนที่อาจก่อให้เกิดอันตรายควรมีเครื่องหมายแสดงไว้ เช่น ป้ายไฟสัญญาณธงแดง เทปแดง เป็นต้น
        - ถ้าเกิดสภาพผิดปกติกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิดแล้วแจ้งให้ผู้รับผิดชอบทราบ
        - ห้ามปลดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายไฟฟ้าออก ยกเว้นกรณีที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
        - เมื่อใช้งานเสร็จแล้วควรสับสวิตช์และต้องแน่ใจว่าวงจรไฟฟ้าเปิด
        - อย่าห่อหุ้มดวงไฟด้วยกระดาษหรือผ้า
        - อย่านำสารไวไฟหรือวัสดุที่ติดไฟง่ายเข้าใกล้สวิตช์, ปลั๊ก
        - อย่าใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขณะมือเปียกน้ำ
        - เมื่อมีผู้ได้รับอุบัติเหตุทางไฟฟ้าต้องรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด
 
        3.4.4 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
        - การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องมีการควบคุมดูแลโดยช่างหรือผู้ชำนาญทางไฟฟ้า นอกจากงานที่มีความศักย์ต่ำกว่า
50 โวลต์ ซึ่งต่อลงดินเรียบร้อยแล้ว
        - การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าจะทำได้ต้องผ่านการปรึกษาหารือจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ การสื่อสารเกี่ยวกับการป้องกัน
เมื่อมีการทำงานขณะมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่หรือกรณีมีการขัดจังหวะ
        - ควรหลีกเลี่ยงการทำงานขณะมีกระแสไฟไหลอยู่ ยกเว้นกรณีจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น
        - การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานทางไฟฟ้าแล้ว ควรจะต้องปฏิบัติเพิ่มดังนี้
            * ห้ามเปิดชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เมื่อเปิดแล้วจะมีกระแสไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าไหลควรใช้ฝาครอบ
หรือมีฉนวนกั้น  หรือถ้าไม่สามารถเปิดคลุมได้ก็ให้จัดทำป้ายอันตรายติดแขวนไว้
            * อุปกรณ์หรือสายไฟฟ้าที่ติดตั้งในที่สูงจะต้องมีฉนวนหุ้มอย่างดีและต้องตรวจสอบความเรียบร้อยอยู่เสมอ
            * หมั่นตรวจตราฉนวนหุ้มอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่เสมอในบริเวณที่ซึ่งอาจมีการสัมผัสหรือทำงาน
            * เมื่อมีการเดินสายไฟฟ้าบนถนน (แม้ว่าจะเดินชั่วคราวก็ตาม) ควรมีระบบป้องกันอันตรายซึ่งใช้เฉพาะงาน
        - กรณีการทำงานเดี่ยวกับไฟฟ้าที่อาจมีการขัดจังหวะงานได้ ควรเพิ่มความระวังดังนี้
            * เครื่องจักรบางชนิดเมื่อเดินเครื่องแล้วไม่สามารถกดสวิตช์ให้กลับมาทำงานที่จุดเริ่มต้นได้ควรมีป้ายบอกไว้
ชัดเจน
            * เครื่องจักรทุกชนิดควรมีระบบสายดินที่ดี
            * เมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ควรปรึกษาช่างไฟฟ้าหรือผู้เชี่ยวชาญทางไฟฟ้า
            * ก่อนสับสวิตช์ทำงาน  ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า จะไม่เกิดอันตรายไฟฟ้าลัดวงจรมีระบบสายดินแหล่ง
จ่ายไฟเรียบร้อย
 
        3.4.5 ข้อที่ไม่ควรกระทำในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า
        - ไม่ควรถอดปลั๊กไฟด้วยการดึงสายไฟ
        - ไม่ควรใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุด
        - ไม่ควรใช้ปลั๊กไฟที่ชำรุด
        - ไม่ควรต่อพ่วงไฟเกินกำลัง
        - ไม่ควรต่อปลั๊กผิดประเภท
        - ไม่ควรซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยตนเองถ้าหากไม่มีความรู้อย่างแท้จริง
 
        3.5 ความปลอดภัยเกี่ยวกับสถานที่พื้นโรงฝึกงาน
        - รักษาพื้นให้สะอาดปราศจากน้ำมัน  จาระบีหรือของเหลวต่าง ๆ ถ้ามีอะไรหกหรือราดลงบนพื้นให้เช็ดทันทีเพื่อป้องกัน
ไม่ให้คนอื่นมาเหยียบลื่นล้ม
        - ทางเดินระหว่างเครื่องจักรไม่ควรให้มีสิ่งใดมาวางเกะกะ จะทำให้ผู้ผ่านมาสะดุดเกิดอุบัติเหตุได้
        - อย่าทิ้งเครื่องมือและงานไว้บนโต๊ะหรือเครื่องจักร แม้ว่าเครื่องจักรนั้นจะไม่หมุน เพราะอาจตกลงไปทำอันตรายกับเท้าได้
        - เก็บเครื่องมือให้เป็นระเบียบทุกครั้งหลังการใช้งาน
        - นำเศษโลหะเก็บไว้ในที่เก็บ
        - เก็บวัสดุหรือเศษวัสดุให้พ้นจากการสะดุดหรือเหยียบหกล้ม
 
 
รูปที่ 20 แสดงความไม่ปลอดภัยของสถานที่
 
 
                        
 
รูปที่ 21 พื้นโรงงานต้องสะอาดไม่มีเศษวัสดุตกอยู่         
 
 
รูปที่ 22 น้ำมันที่ติดอยู่กับพื้นควรเช็ดให้สะอาด
 
        3.6 ความปลอดภัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการทำงาน             
        - แสงสว่าง
        - ความดังของเสียง
        - ระบบการถ่ายเทอากาศ
        - น้ำดื่ม
 
 
รูปที่ 23 แสดงความไม่ปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในการทำงาน
 
        3.7 ความปลอดภัยเกี่ยวกับเพลิงไหม้
        - ผู้ปฏิบััติงานทุกคนต้องรู้ว่าเครื่องดับเพลิงอยู่ที่ไหน จะใช้อย่างไร เมื่อใด
        - จะต้องรู้ว่าเรียกหน่วยดับเพลิงอย่างไร
        - ควรซ้อมการดับเพลิงเป็นระยะสม่ำเสมอ
 
 
 
รูปที่ 24 แสดงความไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับการเกิดเพลิงไหม้
 
        4.  การช่วยเหลือและการปฐมพยาบาล                                 
       
        4.1 กรณีหยุดหายใจ
 
       
        1. ยกต้นคอขึ้นแล้วกดศีรษะให้หงายไปข้างหลัง จากนั้นเอาสิ่งของที่อยู่ในปากของผู้ป่วยออกให้หมด
 
       
        2. ง้างขากรรไกรออก  บีบจมูกและอ้าปากของผู้ป่วย
 
       
        3. ประกบปากลงบนปากของผู้ป่วย แล้วค่อย ๆ เป่าลมจนเต็มปอด
        * กระทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งจนผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง
       
        4.2 กรณีประสบอันตรายจากไฟฟ้าดูด                         
        - ไม่ใช้มือเปล่าในการช่วยเหลือ   
        - รีบตัดกระแสไฟฟ้า (สวิตช์/ปลั๊ก)
        - ใช้ฉนวนเขี่ยสายไฟให้หลุดออกไป
        - เมื่อไฟฟ้าดับ ควรรีบสับสวิตช์ให้วงจรไฟฟ้าเปิด
        - ถ้าเกิดไฟฟ้าช็อตหรือลัดวงจรทำให้เกิดไฟไหม้ รีบสับสวิตช์ แล้วทำการดับไฟด้วยเครื่องดับเพลิงชนิดสารเคมี  
ไม่ควรใช้น้ำหรือเครื่องดับเพลิงที่เป็นน้ำทำการดับไฟเพราะอาจเกิดอันตรายได้ 
        - กรณีประสบภัยในน้ำ อย่าลงไปช่วยจนกว่าจะแน่ใจว่าตัดกระแสไฟฟ้าหมดแล้ว
        - กรณีผู้ป่วยหมดสติ ให้นวดหัวใจและผายปอดช่วยชีวิตโดยทันที
           
        4.3 การห้ามเลือด
 
      
        1. พับรอบแขนหรือขา  2  รอบ                                                       
 
      
        2. ผูกเงื่อนแรก
 
                                      
        3. ใช้ท่อนไม้วางบนเงื่อนแล้วผูกเงื่อนซ้ำ 2 ครั้ง                          
 
       
        4. หมุนหรือขันชะเนาะจนกระทั่งเลือดหยุดไหล                                     
                                      
        5. ผูกตรึงปลายไม้ให้อยู่กับที่ด้วยเชือกเล็ก ๆ               

(รวมทั้งหมด 0 แสดงความคิดเห็น)สมาชิกแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้: บุคคลทั่วไป
E-mail:
ให้คะแนน:
ข้อคิดเห็น:
ใส่รหัสโค๊ดเพื่อยืนยัน: captcha